โปรโมชัน/กองทุนแนะนำ


KFGPE-UI ปลดล็อคการลงทุน กับ Private Equity โอกาสโตอย่างแตกต่าง

Private Equity คืออะไร และทำไมถึงน่าลงทุนตอนนี้?

  • Private Equity คือ การลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีจุดเด่นที่ศักยภาพในการเติบโต

  • Private Equity จะสร้างโอกาสการเติบโตให้เงินลงทุนได้มากกว่า ด้วยการเข้าไปลงทุนในกิจการที่มีศักยภาพ เพื่อพัฒนากิจการนั้นๆ ให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เติบโตมากขึ้น

ที่มา: Schroders Capital ณ ปี 2565

ประเภทการลงทุนใน Private Equity

  • Primary fund investments: การลงทุนผ่าน Private equity fund ที่ซื้อขายในตลาดแรกโดยเป็นการลงทุนตั้งแต่ต้นโครงการเพื่อนำไปลงทุนในบริษัทต่างๆที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
  • Secondary fund investments: การลงทุนผ่าน Private equity fund ที่ซื้อขายในตลาดรองโดยเป็นการเข้าลงทุนต่อจากผู้ลงทุนรายอื่นที่ต้องการขายเงินลงทุนก่อนสิ้นสุดอายุโครงการ
  • Co-investment: การเข้าร่วมลงทุนซึ่งเป็นการถือหุ้นของบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์โดยเป็นการถือหุ้นโดยตรง

กลยุทธ์การลงทุน/แหล่งระดมทุนใน Private Equity ที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงของวงจรธุรกิจ


ปัจจุบันการระดมทุนในรูปแบบ Venture / Growth มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับในอดีต และรูปแบบ Buyout ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง
ที่มา: Schroders Capital ณ ปี 2565  และ Preqin, Schroders Capital ณ ปี 2565 (อ้างอิงจากข้อมูลย้อนหลัง 12 เดือน โดยเป็นข้อมูลรายปี ณ สิ้นเดือน พ.ย. ของแต่ละปี)
 

โอกาสการลงทุนใน Private Equity กับ KFGPE-UI
กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลไพรเวทอิควิตี้ – ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย 

ข้อมูลกองทุน คลิกที่นี่
กองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษเท่านั้น ทั้งนี้ กองทุนรวมนี้เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน โดยไม่ถูกจำกัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น

จุดแข็งของกองทุนหลัก: Schroder GAIA II Global Private Equity Fund

1. ทีม Schroders Capital ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนใน Private Equity และทีมผู้จัดการกองทุนที่มีประวัติการลงทุนที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญ
ที่มา: Schroders Capital ณ ปี 2565 | ข้อมูลจำนวนการลงทุนเป็นข้อมูล ณ ไตรมาส 3 ปี 2564 | ผลการดำเนินงานที่แสดงเป็นผลการดำเนินงานสุทธิหลังหักค่าธรรมเนียมต่างๆแล้ว โดยเป็นข้อมูล ณ ไตรมาส 2 ปี 2564 ในรูปสกุลเงินยูโร | Realized IRR และ Multiple อ้างอิงจากทั้งกำไรที่รับรู้แล้วทั้งหมด, กำไรที่รับรู้บางส่วน และ การเสนอขาย IPOs ณ 30 ก.ย. 2564 (มูลค่า IPO ประเมินจากมูลค่า ณ วันสุดท้ายของรอบไตรมาส)
 
2. กรอบกลยุทธ์การลงทุนที่กระจายการลงทุนอย่างครอบคลุมในทุกมิติของการลงทุนใน Private Equity รวมทั้งการลงทุนในธุรกิจขนาดกลางและเล็กเพื่อสร้างความแตกต่างจากการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนและกองทุน Private equity อื่นๆ  
ที่มา: Schroders Capital ณ ปี 2565 | ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก หมายถึง บริษัทที่มีมูลค่ากิจการน้อยกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐหรือยูโร
 
กองทุนเลือกใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ Buyout และ Growth ที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนในแต่ละภูมิภาคโดยเน้น 5 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก

ที่มา: Schroders Capital ณ ปี 2565
 
3. กองทุนเลือกช่องทางการลงทุนใน Private Equity ที่มีศักยภาพสร้างผลตอบแทนน่าดึงดูดที่สุด และคัดเลือกผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญที่นักลงทุนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ยาก
 

พอร์ตการลงทุนของกองทุนหลัก

ที่มา: Schroders Capital โดยเป็นข้อมูลพอร์ตการลงทุน ณ 31 ธ.ค. 2564 | สัดส่วนการลงทุนคิดเป็นอัตราส่วนเทียบกับมูลค่าที่แท้จริงตามราคาตลาด

มูลค่าเงินลงทุนและผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนหลัก

ที่มา: Schroders Capital ณ 31 ธ.ค. 2564 | มูลค่าการลงทุนและกระแสเงินสดรับอาจปรับตัวเปลี่ยนแปลงขึ้น/ลง โดยผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินคืนเท่ากับเงินลงทุนเริ่มต้น | อัตราแลกเปลี่ยนอาจทำให้มูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นหรือลดลง | ผลการดำเนินงานที่แสดงเป็นของ Share class IA สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน ในขณะที่กองทุน KFGPE-UI จะลงทุนใน share class C โดยทั้งสอง share class มีนโยบายการลงทุนเหมือนกัน | ผลการดำเนินงานที่แสดงเป็นผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมของ AIMC

นโยบายกองทุน KFGPE-UI

นโยบายการลงทุน
  • กองทุนจะนำเงินไปลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ Schroder GAIA II Global Private Equity Fund, Class C Accumulation USD (กองทุนหลัก) ซึ่งบริหารจัดการโดยบริษัท Schroder Investment Management (Europe) S.A. โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่า NAV กองทุน
  • กองทุนหลักอยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดย Commission de Surveillance du Secteur Financier (CSSF) ภายใต้กฎหมายของประเทศลักเซมเบิร์กซึ่งมีนโยบายลงทุนในความมีส่วนได้เสียจากความเป็นเจ้าของ (Equity Interests) ของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity) ทั่วโลก ทั้งนี้ กองทุนหลักจะลงทุนใน private equity ที่มีกลยุทธ์การลงทุนในลักษณะของการให้เงินลงทุนแก่บริษัทที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นกิจการ (Venture Capital) การให้เงินลงทุนเพื่อขยายกิจการในบริษัทที่อยู่ในช่วงเติบโต (Growth Capital) และการร่วมทุนในลักษณะการเข้าซื้อกิจการในบริษัทที่มีความมั่นคงแล้ว (Buyout) นอกจากนี้ กองทุนหลักอาจลงทุนโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ได้ และอาจมีการกู้ยืมเงินเพื่อการลงทุนไม่เกิน 30% ของมูลค่า NAV กองทุน
ระดับความเสี่ยงกองทุน ระดับ 8+ เสี่ยงสูงอย่างมีนัยสำคัญ | ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยปกติกองทุนจะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 80% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ
วันทำการซื้อ  IPO: ระหว่างวันที่ 1 – 14 มีนาคม 2565
หลัง IPO: ผู้ลงทุนสามารถซื้อหน่วยลงทุนได้เป็นรายเดือน และสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้เป็นรายไตรมาส โดยให้เป็นไปตามประกาศวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนตามที่บริษัทจัดการกำหนด
เงินลงทุนขั้นต่ำ ซื้อครั้งแรก 1 ล้านบาท, ครั้งถัดไป 500 บาท
นโยบายการจ่ายเงินปันผล  ไม่มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล

โปรโมชั่นกองทุน
 

เมื่อลงทุนทุกๆ 100,000 บาทใน
กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลไพรเวทอิควิตี้ – ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KFGPE-UI)
ระหว่างวันที่ 1 - 14 มีนาคม 2565
รับเพิ่ม หน่วยลงทุนกองทุน KFCASH-A มูลค่า 100 บาท


รายละเอียดและเงื่อนไข 
  1. รายการส่งเสริมการขายนี้ให้เฉพาะยอดเงินลงทุนในกองทุน KFGPE-UI ในช่วงการเสนอขายครั้งแรกเท่านั้น โดยยอดเงินลงทุนสุทธิหมายถึง ยอดซื้อและ/หรือสับเปลี่ยนเข้า หักออกด้วย ยอดขายคืนและ/หรือสับเปลี่ยนออก
  2. ผู้ลงทุนจะต้องถือหน่วยลงทุนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 ซึ่งพิจารณาจากจำนวนหน่วยลงทุนคงเหลือของกองทุน ณ วันที่ 14 มีนาคม 2565 เป็นฐานในการคำนวณเงินลงทุนตั้งต้น ทั้งนี้ หากมีรายการขายคืนหน่วยลงทุนในระหว่างวันที่ 15 มีนาคม – 31 กรกฎาคม 2565 ในจำนวนเงินหรือหน่วยเท่าใดก็ตาม จะถือว่าไม่มีสิทธิ์ในรายการส่งเสริมการขายนี้
  3. รายการขายคืนจะนับจากวันที่ผู้ลงทุนส่งคำสั่งทำรายการล่วงหน้า โดยถึงแม้ว่ารายการล่วงหน้าดังกล่าวจะมีผลภายหลัง 31 กรกฎาคม 2565 หรือรายการขายคืนดังกล่าวถูกยกเลิกรายการในภายหลังวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 จะถือว่าผิดเงื่อนไขและไม่มีสิทธิ์ในรายการส่งเสริมการขายนี้
  4. หากมีรายการโอนหน่วยลงทุนไปยังบุคคลอื่น ในระหว่างวันที่ 15 มีนาคม – 31 กรกฎาคม 2565 ในจำนวนเงินหรือหน่วยเท่าใดก็ตาม จะถือว่าไม่มีสิทธิ์ในรายการส่งเสริมการขายนี้ กรณีการโอนไปยังและ/หรือมาจากบัญชีหน่วยลงทุนประเภทไม่เปิดเผยรายชื่อ ผู้ลงทุนต้องแจ้งและยืนยันหลักฐานกับบริษัทจัดการว่าบัญชีผู้ถือหน่วยลงทุนที่โอนและรับโอนนั้น เป็นของผู้ลงทุนรายเดียวกัน จึงจะถือว่า  เข้าเงื่อนไขรายการส่งเสริมการขายนี้
  5. บริษัทฯจะพิจารณายอดเงินลงทุนจากแต่ละบัญชีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นหลัก ในกรณีที่ผู้ลงทุนมีบัญชีหน่วยลงทุนกับบริษัทฯมากกว่า 1 บัญชี บริษัทฯจะไม่นำหน่วยลงทุนของแต่ละบัญชีไปคำนวณรวมเพื่อรับสิทธิส่งเสริมการขายนี้
  6. ยอดรวมการลงทุนที่ต่ำกว่า 100,000 บาท จะไม่ถูกนำมาคำนวณเพื่อรับหน่วยลงทุนกองทุนตามรายการส่งเสริมการขายนี้
  7. บริษัทฯจะจัดสรรและโอนหน่วยลงทุนกองทุน KFCASH-A ให้แก่ผู้ลงทุนที่ได้รับสิทธิตามรายการส่งเสริมการขายนี้ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2565 โดยจำนวนหน่วยลงทุนของ กองทุน KFCASH-A จะถูกคำนวณจากราคาหน่วยลงทุนในวันที่ทำการโอนหน่วยให้แก่ผู้ลงทุน
  8. การซื้อกองทุนผ่านกรมธรรม์ประกันชีวิตควบหน่วยลงทุนและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะไม่ถูกนำมารวมในรายการส่งเสริมการขายนี้
  9. การซื้อกองทุนผ่านตัวแทนขายแบบไม่เปิดเผยรายชื่อ (omnibus account) อาจมีเงื่อนไขเพิ่มเติม ผู้ลงทุนควรสอบถามข้อมูลจากตัวแทนขายที่ท่านใช้บริการด้วย
  10. บริษัทฯขอสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลงการรับหน่วยลงทุน กองทุน KFCASH-A เป็นอย่างอื่นที่มีมูลค่าเทียบเท่า รวมถึงเงื่อนไขข้อกำหนดของรายการส่งเสริมการขายนี้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทฯ
  11. ค่าใช้จ่ายในรายการส่งเสริมการขายนี้ บริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบทั้งสิ้น โดยไม่เกี่ยวข้องหรือเรียกเก็บเป็นค่าใช้จ่ายกองทุนแต่อย่างใด

ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญของกองทุนหลัก
 
1. ความเสี่ยงจากการลงทุนใน Private Equity
  • การลงทุนใน private equity มักมีความเสี่ยงที่แตกต่างไปจากการลงทุนประเภทอื่นเช่น การลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียน เนื่องจากการลงทุนดังกล่าวอาจเป็นการลงทุนในกิจการที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นไม่นาน จึงมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจน้อยและสินค้าของบริษัทยังไม่มีตลาดที่ชัดเจน หรือกำลังอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้าง เป็นต้น  ดังนั้น ประมาณการการเติบโตของมูลค่าการลงทุนจึงมีความไม่แน่นอนมากกว่าการลงทุนประเภทอื่น
  • ในขณะที่การลงทุนใน private equity ให้ความสำคัญกับศักยภาพในการให้ผลตอบแทน กองทุนและบริษัทในลักษณะนี้อาจจะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนทางธุรกิจและฐานะทางการเงิน จึงไม่อาจรับประกันได้ว่าการใช้เงินลงทุนของกิจการนอกตลาดหลักทรัพย์จะได้รับผลกำไร การลงทุนใน private equity, กองทุนประเภท Venture Capital Funds และบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์มีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรืออยู่ภายใต้การกำกับดูแลของทางการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้สถานการณ์ดังต่อไปนี้
    • กองทุนอาจลงทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมในบริษัทที่เพิ่งจัดตั้งได้ไม่นาน ซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อการขาดทุนที่สูงกว่า บริษัทเหล่านี้จะไม่มีผลการดำเนินงานย้อนหลัง ไม่มีการรับประกันว่าผู้จัดการบริษัทจะสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามวัตถุประสงค์ และไม่มีการรับประกันว่าการลงทุนของกองทุนจะให้ผลตอบแทนที่สอดคล้องกับความเสี่ยงจากการลงทุนในบริษัทเหล่านี้
    • การเข้าร่วมลงทุนของกองทุนอาจทำให้กองทุนถูกจำกัดสิทธิในฐานะของผู้ถือหุ้น จึงอาจไม่สามารถปกป้องผลประโยชน์จากการลงทุนดังกล่าวได้ บริษัทอาจมีอำนาจการควบคุมในโครงสร้างหรือลักษณะของการร่วมลงทุนน้อยหรือไม่มีเลย จึงต้องอาศัยทักษะและความสามารถของผู้จัดการการลงทุน (ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก) ในการคัดเลือก ประเมิน ออกแบบโครงสร้าง เจรจาต่อรอง และติดตามโครงการร่วมลงทุน นอกจากนี้ กองทุนที่เป็น Private equity Fund ที่กองทุนไปลงทุน ผู้ลงทุนรายอื่นอาจใช้สิทธิออกเสียงเพื่อเลิกกองทุนได้ ในขณะที่กองทุนไม่มีความประสงค์ที่จะออกเสียงในเรื่องดังกล่าว
    • บริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มักจะขึ้นอยู่กับทักษะและความสามารถของผู้บริหารหรือกรรมการของบริษัทเพียงไม่กี่คน และบริษัทเหล่านี้มักจะมีทรัพยากรที่จำกัด  ดังนั้น การลงทุนในกองทุนนี้ควรเป็นการลงทุนในระยะยาว
2. ความเสี่ยงจากการลงทุนใน Private Equity Funds และกองทุนของ Private Equity Funds
  • กองทุนนี้สามารถลงทุนใน Private Equity Funds และกองทุนของ Private Equity Funds ที่จัดตั้งภายใต้การบังคับใช้กฎหมายที่มีการกำกับดูแลกองทุนจากทางการน้อยมากหรือไม่มีเลย นอกจากนี้ ประสิทธิภาพในการกำกับดูแลยังอาจได้รับผลกระทบจากการไม่มีแนวทางด้านการลงทุนและการกระจายความเสี่ยงมาบังคับใช้ รวมถึงความยืดหยุ่นของนโยบายการลงทุนของกองทุนเหล่านี้
  • การขาดการกำกับดูแลทั้งในระดับกองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund of Funds) และกองทุนอ้างอิงที่ลงทุน (Underlying Fund) อาจนำไปสู่ความเสี่ยงที่สูงขึ้นสำหรับผู้ถือหน่วยลงทุน
  • ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนนี้จะมีภาระค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนและที่ปรึกษาการลงทุนทางอ้อมที่เรียกเก็บโดยผู้จัดการการลงทุนของ Private Equity Fund, กองทุนของ Private Equity Fund และการลงทุนประเภท Private Equity Investments ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่กองทุนนี้ไปลงทุน
  • กองทุนนี้อาจจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการบริหารกองทุนตามผลการดำเนินงาน (Performance Fee) ทางอ้อมที่เรียกเก็บโดย Private Equity Fund, กองทุนของ Private Equity Fund และการลงทุนประเภท Private Equity Investments ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แต่ละราย แม้ว่าในขณะนั้นกองทุนนี้มีผลตอบแทนติดลบหรือเป็นศูนย์ก็ตาม
3. ความเสี่ยงจากคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุน (Redemption Requests)
หุ้นของบริษัทที่ลงทุนอาจไม่สามารถขายออกได้อย่างรวดเร็ว จึงอาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าของกองทุนและความสามารถของกองทุนในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคำสั่งของผู้ถือหน่วยลงทุน
4. ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk)
  • การลงทุนใน Private equity ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนระยะยาวที่มีสภาพคล่องต่ำ ซึ่งไม่มีคุณลักษณะของสภาพคล่องและความโปร่งใสที่มักพบในการลงทุนประเภทอื่น เช่น การลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียน
  • การขายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินทางการเงินอื่นที่กองทุนลงทุนอาจทำได้ลำบาก และสภาพคล่องของการลงทุนจะขึ้นอยู่กับความสำเร็จของกลยุทธ์ในการขายทรัพย์สินของกองทุนโดยผู้จัดการการลงทุน กลยุทธ์เหล่านี้อาจได้รับผลกระทบในเชิงลบจากปัจจัยหลายประการ มีความเสี่ยงที่กองทุนอาจไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์การลงทุนจากการขายหรือการจำหน่ายหลักทรัพย์ ณ ราคาที่ให้ผลตอบแทนดี หรือในช่วงเวลาที่เหมาะสม หรือสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของภาวะตลาด หรืออาจไม่สามารถขายหลักทรัพย์ที่ลงทุนตามกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ ผลขาดทุนที่แท้จริงอาจเกิดขึ้นกับกองทุนก่อนที่จะ ได้รับกำไรจากการจำหน่ายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ผลตอบแทนจากเงินลงทุนหรือผลกำไรที่ได้รับจากการจำหน่ายหลักทรัพย์ (ถ้ามี) มักจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการจำหน่ายเงินลงทุนทั้งหมดหรือบางส่วนไปแล้วเท่านั้น
  • อาจเป็นการยากในการไถ่ถอนการลงทุนในบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งสามารถทำได้โดยการเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป หรือขายให้กับผู้ร่วมลงทุนรายอื่นหรือผู้ร่วมลงทุนเชิงกลยุทธ์ หรือผู้ลงทุนโดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม การไถ่ถอนการลงทุนในบริษัทใด ๆ ของกองทุนอาจต้องได้รับการตกลงจากผู้ถือหุ้นรายอื่นของบริษัทนั้น ๆ หรือโดยความยินยอมของคณะกรรมการของบริษัท หรือต้องได้รับอนุมัติจากหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาและผลกำไรในการไถ่ถอนการลงทุนสำหรับการลงทุนโดยตรงอาจได้รับผลกระทบเชิงลบจากปัจจัยภายนอกด้านเศรษฐกิจซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุม
  • ปัจจุบันยังไม่มีตลาดที่มั่นคงสำหรับการลงทุนในตลาดรอง และแม้ว่าในระยะหลังนี้ โอกาสการลงทุนในตลาดรอง มีเพิ่มขึ้นมาก แต่ก็ยังไม่มีตลาดรองใดที่มีสภาพคล่องเพื่อรองรับการลงทุนในลักษณะดังกล่าวได้
5. ความเสี่ยงในการประเมินมูลค่าการลงทุน (Valuation Risk)
การลงทุนในหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อาจมีความยากลำบากในการกำหนดราคาอ้างอิงที่เหมาะสม ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการประเมินมูลค่าของพอร์ตการลงทุน การลงทุนบางประเภทอาจมีการประเมินมูลค่าบนพื้นฐานของราคาประมาณการ ดังนั้น จึงมีความผันผวนที่สูงกว่าหลักทรัพย์จดทะเบียน
6. ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับหมวดอุตสาหกรรม/พิ้นที่ทางภูมิศาสตร์ (Risk Factors Relating to Industry Sectors / Geographic Areas)
กองทุนที่เน้นการลงทุนเฉพาะเจาะจงในบางอุตสาหกรรมหรือพื้นที่ทางภูมิศาสตร์จะมีมูลค่าผันแปรตามปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยด้านตลาดซึ่งมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหรือพื้นที่ทางภูมิศาสตร์นั้น ๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไป และการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนมีความผันผวนมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจรวมถึงความไม่แน่นอนและความไร้เสถียรภาพทางสังคมและการเมืองและภัยพิบัติทางธรรมชาติ
7. ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว (Risk Factors Relating to concentration of investments risks)
ถึงแม้บริษัทจะมีนโยบายในการกระจายการลงทุนในทรัพย์สินในพอร์ตที่ลงทุน แต่ในบางขณะกองทุนก็อาจมีการลงทุนในทรัพย์สินเพียงไม่กี่ชนิด ทำให้กองทุนอาจประสบผลขาดทุนอย่างมีนัยสำคัญ หากทรัพย์สินที่ลงทุนไว้ในสัดส่วนที่สูงมีมูลค่าลดลงหรือได้รับผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ด้วยสาเหตุอื่นใด ซึ่งรวมถึงการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสารที่กองทุนได้ลงทุนไว้

คำเตือนสำคัญ
 
  1. KFGPE-UI (กองทุนไทย) จะเน้นลงทุนในกองทุนหลักชื่อ Schroder GAIA II Global Private Equity Fund ซึ่งมีนโยบายลงทุนในความมีส่วนได้เสียจากความเป็นเจ้าของ (Equity Interests) ของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity) ทั่วโลก โดยไม่จำกัดอัตราส่วน ซึ่งมีความแตกต่างและมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมทั่วไป อีกทั้งมีสภาพคล่องต่ำ ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินต้นหรือไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวัง กองทุนนี้จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่มีความเข้าใจในหลักทรัพย์ประเภทนี้เป็นอย่างดี และสามารถรับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น
  2. กองทุนไทยอาจลงทุนในตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade)และ/หรือที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated) และ/หรือหลักทรัพย์ที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Unlisted Securities) ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย
  3. กองทุนไทยอาจทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทจัดการ ซึ่งอาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมฯ โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และในกรณีที่ไม่ได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงฯ ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  4. กองทุนไทยอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน และอาจลงทุนในตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง จึงมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมที่ลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงโดยตรง เนื่องจากใช้เงินลงทุนในจำนวนที่น้อยกว่าจึงมีกำไร/ขาดทุนสูงกว่าการลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงโดยตรง
  5. กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง และ/หรือในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง ดังนั้น ผลการดำเนินงานจึงอาจผันผวนมากกว่ากองทุนรวมทั่วไปที่มีการกระจายการลงทุน ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาความเสี่ยงและการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเอง และข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจก่อนตัดสินใจซื้อหน่วยลงทุน
  6. กองทุนไทยมีสภาพคล่องจำกัด โดยมีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนไตรมาสละครั้ง และต้องแจ้งล่วงหน้าภายในวันที่ 30 ของเดือนที่สิ้นไตรมาสก่อนหน้า โดยรวมช่วงระยะเวลาตั้งแต่การแจ้งล่วงหน้าจนถึงการได้รับเงินค่าขายหน่วยลงทุนคืนจะใช้เวลากว่า 4 เดือน ซึ่งเป็นไปการกำหนดให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของกองทุนหลัก ผู้ลงทุนควรวางแผนสภาพคล่องของตนเองให้สอดคล้องกับสภาพคล่องของกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
  7. กองทุนหลักอาจมีข้อจำกัดและสงวนสิทธิในการปิดรับเงินลงทุนใหม่หรือเงินลงทุนเพิ่ม เมื่อกองทุนหลักพิจารณาแล้วเห็นว่าการปิดรับเงินลงทุนใหม่หรือเงินลงทุนเพิ่มดังกล่าวเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหน่วยลงทุน เหตุการณ์ที่กองทุนหลักเห็นว่าควรปิดรับเงินลงทุนใหม่หรือเงินลงทุนเพิ่ม เช่น กองทุนหรือชนิดของหน่วยลงทุนใดๆ ของกองทุนมีขนาดมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่อาจก่อให้เกิดความยากลำบากในการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือเมื่อเงินลงทุนใหม่หรือเงินลงทุนเพิ่มที่เข้ามาในกองทุนจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกองทุน เป็นต้น นอกจากนี้ กองทุนหลักสงวนสิทธิในการปิดรับเงินลงทุนใหม่หรือเงินลงทุนเพิ่มดังกล่าว รวมถึงการเปิดรับเงินลงทุนใหม่หรือเงินลงทุนเพิ่มในภายหลัง โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้ถือหน่วยทราบล่วงหน้า ดังนั้น ข้อจำกัดดังกล่าว อาจส่งผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่สามารถลงทุนได้อย่างต่อเนื่องทุกเดือน หรือไม่อาจลงทุนในจำนวนที่ต้องการได้
  8. กองทุนหลักอาจมีการจำกัดการไถ่ถอนหน่วยลงทุนในวันทำการซื้อขายใดไว้ไม่เกินร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนหลักในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนหลักมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนรวมกันในวันทำการซื้อขายใดเกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ดังกล่าว กองทุนหลักอาจจัดสรรยอดไถ่ถอนเพียงเท่าที่อัตราที่กำหนดไว้แก่ผู้ถือหน่วยทุกรายที่ส่งรายการไถ่ถอนในสัดส่วนที่เท่ากัน (Prorate basis) สำหรับยอดไถ่ถอนส่วนที่เกินอัตราที่กำหนดไว้จะถูกนำไปดำเนินการในวันทำการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในไตรมาสถัดไป โดยกองทุนหลักจะแจ้งผู้ถือหน่วยให้ทราบถึงรายการไถ่ถอนที่ถูกเลื่อนออกไปนี้ในวันชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน
  9. กองทุนหลักอาจเลื่อนการชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนออกไปสูงสุดไม่เกิน 30 วันทำการจากกำหนดวันชำระเงินค่าขายคืนปกติ หากมีสถานะการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น เช่น การจำกัดการนำเงินกลับเข้า/ออกนอกประเทศ การควบคุมของตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง หรือเหตุการณ์อื่นใดที่ส่งผลให้กองทุนหลักมีสภาพคล่องไม่เพียงพอในการนำมาชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนได้ทันตามกำหนด
  10. ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ เช่น ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่กองทุนหลักลงทุนไม่สามารถเปิดทำการซื้อขายได้ตามปกติ หรือหลักทรัพย์ที่กองทุนหลักลงทุนถูกระงับการซื้อขาย หรือเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของกองทุนหลัก กองทุนหลักอาจระงับหรือเลื่อนการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ การเสนอขาย การสับเปลี่ยน และการไถ่ถอนหน่วยลงทุนเป็นการชั่วคราวได้ จึงอาจส่งผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ กองทุนหลักอาจไม่รับรายการซื้อหรือรายการไถ่ถอนหน่วยลงทุนหรือทั้งสองประเภทของรายการในระยะเวลา 12 เดือน หากผู้จัดการกองทุนพิจารณาแล้วว่าการกระทำดังกล่าวเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหน่วยลงทุน โดยในช่วงเวลาดังกล่าว จะไม่มีการคำนวณและประกาศมูลค่าหน่วยลงทุน
  11. เนื่องจากกองทุนหลักมีข้อกำหนดในการส่งคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนล่วงหน้า อีกทั้งวันคำนวณและประกาศมูลค่าหน่วยลงทุน รวมถึงวันที่ชำระเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนหลักจะมีระยะเวลาที่มากกว่ากองทุนรวมทั่วไป ข้อกำหนดดังกล่าวอาจส่งผลให้ผลการดำเนินงานของกองทุนไทยและกองทุนหลักมีความแตกต่างกันมากกว่ากองทุนรวมฟีดเดอร์ทั่วไป
  12. เนื่องจากกองทุนหลักเน้นลงทุนใน Private Equity กองทุนหลักจึงอาจมีความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในบริษัทที่อยู่ในระยะเริ่มต้นซึ่งอาจขาดประสบการณ์หรือความรู้ความสามารถในด้านการบริหารจัดการ และมีเงินทุนไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน การวิจัยและการพัฒนา อีกทั้งเทคโนโลยีของบริษัทเหล่านั้นอาจยังไม่ได้รับการทดสอบ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ผู้ออกหลักทรัพย์ในระยะเริ่มต้นมีแนวโน้มที่จะล้มเหลวในด้านการดำเนินงานและการเงิน ซึ่งมีผลในทางลบต่อความอยู่รอดของผู้ออกหลักทรัพย์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  13. กรณีกองทุนหลักไม่สามารถจำหน่ายทรัพย์สินหรือถอนตัวจากการลงทุนได้สำเร็จในเวลาหรือราคาที่ต้องการ เพื่อคืนเงินต้นและ/หรือจ่ายผลตอบแทนให้แก่กองทุนไทยภายในระยะเวลาที่เหมาะสม อาจส่งผลให้ผู้ลงทุนสูญเสียเงินต้นและผลตอบแทนตามที่คาดหวังได้
  14. กองทุนมีข้อกำหนดในการรับคำสั่งซื้อและคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนล่วงหน้าเป็นเวลานานก่อนถึงวันทำรายการจริง โดยวันทำรายการจะเป็นวันทำการสุดท้ายของแต่ละเดือน (Trade date) อีกทั้ง กองทุนมีการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นรายเดือน โดยจะคำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายในเดือนถัดไป ข้อกำหนดเหล่านี้ถูกกำหนดให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของกองทุนหลัก ซึ่งแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไป ผู้ลงทุนควรศึกษาประกาศวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนตามที่บริษัทจัดการกำหนดโดยละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน
  15. ในการส่งคำสั่งซื้อหน่วยลงทุน ผู้ลงทุนต้องส่งคำสั่งรายการซื้อหน่วยลงทุน พร้อมทั้งชำระเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนล่วงหน้าก่อนวันทำรายการใน  แต่ละเดือนโดยให้เป็นไปตามประกาศวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกำหนด และผู้ลงทุนจะไม่สามารถยกเลิกการทำรายการดังกล่าวได้ โดยคำสั่งซื้อจะถูกนำมาดำเนินการในวันทำการสุดท้ายของแต่ละเดือน (Trade date) และจะได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเมื่อกองทุนได้มีการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยของเดือนนั้น ซึ่งจะคำนวณและประกาศภายในเดือนถัดไปนับจากวัน trade date ดังนั้น ในช่วงระยะเวลาระหว่างที่ผู้ลงทุนส่งคำสั่งซื้อพร้อมชำระเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนล่วงหน้าจนถึงก่อนการคำนวณมูลทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วย ผู้ลงทุนจะยังไม่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นจนกว่าจะมีการคำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยเสร็จสิ้นแล้ว
  16. กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในภูมิภาคยุโรปและอเมริกาเหนือ ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
  • เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือและความสมบูรณ์ของข้อมูล
  • ผู้ลงทุนควรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้ขาย หรือศึกษารายละเอียดจากเอกสารประกอบการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนนี้เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน


ข้อมูลกองทุน KFGPE-UI

ย้อนกลับ

ข่าว/ประกาศกองทุน

ลงทุนในกองทุนรวมบลจ.กรุงศรี

บลจ.กรุงศรีมีกองทุนรวมหลายประเภทให้เลือกลงทุนสำหรับทุกเป้าหมายการลงทุน