Login@ccess
LoginEm@ccess
TH
เกี่ยวกับบลจ.กรุงศรี
ข่าว/ประกาศกองทุน
สรุปภาวะตลาด
วางแผนการลงทุน
ติดต่อเรา
การทำรายการซื้อ-ขาย
เมนูหลัก
ค้นหา
Home
เข้าสู่ระบบ
@ccess online
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
Seminar Booking
กองทุนรวม
หน้าหลักกองทุนรวม
กองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารตลาดเงิน
กองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้
กองทุนผสม
กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น
กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
กองทุนกรุงศรี 2TM
กองทุนอสังหาริมทรัพย์
กองทุนที่ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
Employee’s choice
จุดเด่นของ บลจ.กรุงศรี
แบบประเมินความเสี่ยง
ติดต่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
มูลค่าหน่วยลงทุน
ผลการดำเนินงานกองทุนรวม
Krungsri @ccess Mobile App
ลงทุนกองทุนกรุงศรี
สะดวกกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว
ดูเพิ่มเติม
ราคาหน่วยลงทุนย้อนหลัง
ผลการดำเนินงานย้อนหลัง
Quicklink
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สมัครบริการ @ccess online
กองทุนรวม
เปิดบัญชีและทำรายการ
ทดสอบระดับความเสี่ยง
หนังสือรับรองฯ SSF / RMF / LTF
ค้นหา
หน้าหลัก
>
วางแผนการลงทุน
>
เรียนรู้เกี่ยวกับการลงทุน
>
ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน
Quicklink
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สมัครบริการ @ccess online
กองทุนรวม
เปิดบัญชีและทำรายการ
ทดสอบระดับความเสี่ยง
หนังสือรับรองฯ SSF / RMF / LTF
เข้าสู่ระบบ
@ccess online
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
Seminar Booking
ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน
ดร. ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารความเสี่ยงด้านการลงทุน บลจ. กรุงศรี จำกัด
สถานการณ์ตึงเครียดในยูเครนส่งผลให้การลงทุนมีความเสี่ยงเพิ่มสูงมากขึ้น เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของสหรัฐและประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศ ส่งผลกระทบต่อการค้าในตลาดโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะรัสเซียเป็นผู้ส่งออกสินค้าสำคัญหลายประเภท โดยเฉพาะน้ำมัน ซึ่งรัสเซียส่งออกน้ำมันราว 7% ของอุปทานน้ำมันทั่วโลก ดังนั้น การที่รัสเซียถูกคว่ำบาตร จึงส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นอบ่างรวดเร็ว ถึงแม้ยังไม่มีการคว่ำบาตรน้ำมันจากรัสเซียก็ตาม
สำหรับบทความในวันนี้ ผมขอรวบรวมข้อมูลจากหลายๆที่มานำเสนอจากหลายๆแหล่งในหลายๆด้านเพื่อประกอบการวิเคราะห์ในการตัดสินใจลงทุน
รัสเซียเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 12 ของโลก คิดเป็นสัดส่วนราว 1.75% ของเศรษฐกิจโลก
และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าไทยราว 3 เท่า ซึ่งก็ถือว่าเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจไม่ใหญ่มากนัก อย่างไรก็ดี รัสเซียเป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญ โดยนอกจากเป็นผู้ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ของโลกแล้ว รัสเซียยังส่งออกไททาเนียมซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินมากเป็นอันดับสองของโลก ส่งออกนิกเกิลซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าราว 7% ของอุปทานโลก ส่งออกพัลลาเดียมซึ่งเป็นส่วนประกอบในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ราว 25-30% ของอุปทานโลก และเป็นผู้ส่งออกทองแดง อลูมิเนียม ผลิตภัณฑ์ไม้รายใหญ่ของโลก
ถึงแม้ขนาดเศรษฐกิจรัสเซียไม่ได้ใหญ่มาก แต่รัสเซียมีสินค้าส่งออกที่มีความสำคัญต่อห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้น การคว่ำบาตรรัสเซียจะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตอย่างมีนัยสำคัญ และอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศในยุโรปซึ่งนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียเป็นหลัก โดยเยอรมนีนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติราว 38% จากรัสเซีย โดยที่การผลิตไฟฟ้าในเยอรมนีราว 20% ใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ ดังนั้น หลายประเทศในยุโรปจึงลังเลที่จะคว่ำบาตรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย เนื่องจากการหาแหล่งพลังงานจากผู้ค้ารายใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย
ในขณะที่สหรัฐซึ่งเป็นผู้นำในการที่จะคว่ำบาตรน้ำมันจากรัสเซียก็อาจจะประสบปัญหาเช่นเดียวกัน เนื่องจากถึงแม้สหรัฐสามารถผลิตน้ำมันได้เกินความต้องการ แต่สหรัฐยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมัน เพราะไม่ใช่ทุกรัฐในสหรัฐสามารถผลิตน้ำมันได้ การนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศในหลายรัฐยังคงมีราคาถูกกว่าการขนส่งมาจากแหล่งผลิตน้ำมันในสหรัฐ และถึงแม้สหรัฐนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียไม่มาก แต่ก็ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก
นักวิเคราะห์หลายรายยังคงมีคำถามว่า การคว่ำบาตรรัสเซียได้ผลจริงหรือ โดยนาย Josh Lipsky ผู้อำนวยการของ GeoEconomics Center at the Atlantic Council ตั้งข้อสังเกตุว่า ถึงแม้รัสเซียจะโดนคว่ำบาตรน้ำมันจากสหรัฐและชาติตะวันตก แต่รัสเซียยังคงสามารถส่งออกน้ำมันให้ประเทศอื่นๆได้ และสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้นตามราคาในตลาดโลก กล่าวคือ ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับขึ้นมาเกือบเท่าตัวนับตั้งแต่รัสเซียบุกยูเครน ดังนั้น ถึงแม้รัสเซียขายน้ำมันได้น้อยลงราวครึ่งหนึ่ง แต่รัสเซียยังคงมีรายได้จากการขายน้ำมันลดลงไม่มาก ในขณะที่ประเทศอื่นๆต้องประสบปัญหาเงินเฟ้อ สำหรับสินค้าประเภทอื่นๆก็เข่นเดียวกัน รัสเซียยังคงสามารถส่งออกผ่านประเทศอื่นได้เช่นกัน ในขณะที่การที่จะเรียกร้องให้กลุ่มโอเปกผลิตน้ำมันเพิ่มเติมเพื่อชดเชยอุปทานที่หายไปก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากช่วงโควิดกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันไม่ได้ลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
สำหรับประเทศไทย ไทยส่งออกสินค้าไปรัสเซียเพียงราว 0.6% และส่งออกไปยูเครนราว 0.1% ของยอดส่งออกทั้งหมดในปี 2564 โดยสินค้าส่งออกสำคัญไปรัสเซีย ได้แก่ รถยนต์และอุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์ยาง ดังนั้น การส่งออกไปรัสเซียจึงส่งผลกระทบต่อยอดส่งออกโดยรวมของไทยเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ดี ไทยอาจได้รับผลกระทบในทางอ้อมเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอาจช้าลง และประเทศในยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกราว 8% ของยอดส่งออกของไทยทั้งหมดอาจได้รับผลกระทบรุนแรงจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน
ในส่วนของภาคการท่องเที่ยวอาจได้รับผลกระทบอยู่บ้าง เนื่องจากนักท่องเที่ยวรัสเซียเป็นหนึ่งในตลาดที่สำคัญ โดยในปี 2562 ชาวรัสเซียเกือบ 1.5 ล้านคนเดินทางเข้ามาในไทย คิดเป็น 3.7% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด และในปี 2564 มีนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียราว 31,000 คนเดินทางเข้ามาในประเทศไทย อย่างไรก็ดี เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการฟื้นตัวอย่างช้าๆ จึงอาจไม่ส่งผลกระทบต่อตัวเลขเศรษฐกิจโดยรวมมากนัก แต่อาจส่งผลให้การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวช้า
ในส่วนของภาคธุรกิจ บริษัทใหญ่ๆในไทยเพียงไม่กี่บริษัทมีธุรกิจอยู่ในรัสเซียทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างไรก็ดี มีชาวรัสเซียจำนวนมากเข้ามาประกอบธุรกิจในไทย ดังนั้น การที่ธนาคารรัสเซียบางแห่งถูกคว่ำบาตรจึงส่งผลกระทบต่อการทำธุรกรรมการเงินของนักธุรกิจรัสเซียในไทย เช่น ไม่สามารถใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดของธนาคารที่ถูกคว่ำบาตรได้ และไม่สามารถโอนเงินชำระค่าสินค้าได้
ปัญหารัสเซีย-ยูเครนมีผลกระทบโดยตรงต่อไทยในแง่ของราคาน้ำมันที่แพงขึ้นมาก ในขณะที่ในส่วนอื่นๆไม่มีผลกระทบโดยตรงมากนัก อย่างไรก็ดี ไทยจะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากปัญหาเงินเฟ้อและปัญหาในห่วงโซ่อุปทานซึ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้นจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย
ในส่วนของการลงทุน นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำควรชะลอการลงทุนเพื่อรอดูความชัดเจน ในขณะที่นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง และอาจมองว่าปัญหารัสเซีย-ยูเครนจะจบเร็ว หรืออาจมองเป็นโอกาส เนื่องจากไทยไม่ได้รับผลกระทบรุนแรง และอาจได้ประโยชน์จากการส่งออกสินค้าบางรายการทดแทนสินค้าจากรัสเซีย รวมถึงอาจมองว่านักลงทุนต่างชาติมองไทยเป็นตลาดที่ปลอดภัยจากปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว ก็อาจตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงในระดับที่เหมาะกับท่าน
สำหรับกองทุนที่น่าสนใจสำหรับการลงทุน นอกจากกองทุนหุ้นไทยที่มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนดีในปีนี้แล้ว กองทุนต่างประเทศที่น่าสนใจ ได้แก่ กองทุน KFHHCARE เป็นกองทุนแบบ defensive จึงไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะสงครามมากนัก ในขณะที่ภาวะการระบาดของโอมิครอน ถึงแม้อาการจากการติดเชื้อไม่รุนแรง แต่สามารถติดเชื้อได้ง่าย ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบางจึงยังคงมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง และอีกหนึ่งกองทุนที่น่าสนใจคือ กองทุน KFCYBER ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการเติบโตของธุรกิจออนไลน์ เมตาเวิร์ส และสงครามไซเบอร์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
ข้อมูลกองทุน คลิก:
KFHHCARE-A
|
KFHHCARE-D
|
KFCYBER-A
ย้อนกลับ
วางแผนการลงทุน
เริ่มต้นการลงทุน
เรียนรู้เกี่ยวกับการลงทุน
วางแผนเพื่อลดหย่อนภาษี
แบบทดสอบระดับความเสี่ยง
เลือกกองทุนที่คุณสนใจ
-
คุกกี้
เว็บไซต์ของบริษัทมีการจัดเก็บข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบคุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงนำเสนอเนื้อหา และประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ที่ตรงกับความต้องการ การกดปุ่ม
“ตกลงทั้งหมด”
จะช่วยให้คุณได้รับประสบการณ์เต็มรูปแบบในการใช้งานเว็บไซต์ของบริษัท ทั้งนี้ คุณสามารถกำหนดการตั้งค่าคุกกี้แต่ละประเภทได้ตามที่คุณต้องการโดยกดปุ่ม
“ตั้งค่าคุกกี้”
โดยคุณสามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ประกาศการใช้งานคุกกี้
ของบริษัท
×
คุกกี้
คุกกี้ที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเว็บไซต์
Always Active
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานขั้นพื้นฐานของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การจดจำหน้าเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งานล่าสุด การสำรวจหน้าเว็บไซต์ การจดจำรหัสของผู้เข้าใช้งาน หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์เข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนสิทธิ์ไว้สำหรับสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้ การจัดเก็บคุกกี้ประเภทนี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องขอความยินยอมจากคุณเพราะคุกกี้ประเภทนี้ไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลซึ่งสามารถระบุตัวตนของคุณได้อย่างเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การจดจำการตั้งค่าภาษา ภูมิภาค ขนาดตัวอักษรของคุณในการใช้งานเว็บไซต์ นับจำนวนและแหล่งที่มาของผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์ เพื่อให้ทราบว่าผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์มีการปฏิสัมพันธ์กับหน้าเว็บไซต์อย่างไร และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด โดยการเก็บรวบรวมและการรายงานข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนของคุณอย่างไม่เฉพาะเจาะจงจะช่วยให้สามารถพัฒนาและมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดียิ่งขึ้น หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ อาจทำให้ไม่ทราบได้ว่าคุณเคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์เมื่อใดและไม่สามารถติดตามประสิทธิภาพการประมวลผลของหน้าเว็บไซต์ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
คุกกี้ประเภทนี้จะทำให้เว็บไซต์สามารถตอบสนองตามความพึงพอใจของคุณ โดยทำให้เราทราบถึงพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการเข้าใช้งานเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น สามารถจดจำการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้สำหรับคุณในครั้งถัดไป ทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของผู้ใช้ และวัดประสิทธิผลของโฆษณาของเรา คุกกี้ประเภทนี้อาจถูกติดตั้งไว้โดยบริษัทหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ การให้บริการบางอย่างของเว็บไซต์อาจไม่สามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง
คุกกี้สำหรับสื่อสังคมออนไลน์
คุกกี้ประเภทนี้สำหรับฟังก์ชั่นการกดไลค์ แชร์ หรือสมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์
คุณยืนยันลบข้อมูลการเก็บคุกกี้ของเว็บไซต์ของบริษัท ซึ่งไม่รวมถึงการจัดเก็บของบุคคลที่สาม เช่น Chrome, Firefox, Internet Explorer, Safari ฯลฯ ที่คุณต้องไปดำเนินการด้วยตนเอง