บลจ.กรุงศรี เปิดตัวกองทุนใหม่ KF-EMXCN ฝ่าความผันผวนจากสงครามการค้า ด้วยโอกาสลงทุนในตลาดเกิดใหม่ไม่รวมจีน โดยมีสัดส่วนหลักอยู่ในอินเดีย ไต้หวัน และเกาหลี เน้นบริษัทคุณภาพสูงที่ดำเนินธุรกิจภายในประเทศเป็นหลัก ชี้ระดับราคาหุ้นยังคงไม่แพงแต่ปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง พร้อมรับอานิสงส์จากเศรษฐกิจมหภาคที่เอื้อต่อการเติบโต
เสนอขายครั้งแรก 21 – 28 เมษายนนี้
คุณสุภาพร ลีนะบรรจง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด (บลจ.กรุงศรี) เปิดเผยว่า “
ภาพรวมเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ไม่รวมจีน ยังคงมีอัตราการเติบโตเป็นบวก เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับลดลง ส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนมีการเติบโตที่แข็งแกร่ง และเข้าถึงโอกาสการลงทุนในประเทศที่เป็นฐานการผลิตสำคัญของโลก แม้ตอนนี้ตลาดหุ้นทั่วโลกจะได้รับแรงกดดันจากอัตราภาษีนำเข้าใหม่ของสหรัฐ แต่ด้วยราคาหุ้นที่ยังไม่แพงและมีการซื้อขายที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับตลาดประเทศพัฒนาแล้ว ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง จึงมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวเติบโตได้ในระยะยาว เมื่อความไม่แน่นอนเริ่มคลี่คลาย เช่น การชะลอการขึ้นภาษีนำเข้า หรือการเจรจาบรรลุข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯและประเทศคู่ค้า นอกจากนี้ การแยกสัดส่วนการลงทุนในจีนออกจากกลุ่มจะช่วยกระจายความเสี่ยงและลดความผันผวนได้”
“
สำหรับประเทศที่มีบทบาทสำคัญและศักยภาพสูงในการขับเคลื่อนตลาดเกิดใหม่ที่ไม่รวมจีน ได้แก่ อินเดียที่มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ปัจจัยพื้นฐานดี และคาดการณ์ว่า GDP จะเติบโตสูงสุดถึง 6.3%* ในช่วง 10 ปีข้างหน้า
ไต้หวันที่มีความโดดเด่นด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับเทคโนโลยี AI
และเกาหลีที่เป็นผู้นำในการผลิตหน่วยความจำแบนด์วิดท์สูง (HBM) ที่ใหญ่ที่สุดและได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี DeepSeek”**
(*ที่มา: www.visualcapitalist.com/real-gdp-growth-projections-over-10-years ณ ก.ย. 66 และบทความ “The Great Powers Index: 2024” โดย Ray Dalio’s Great Powers Index 2024. / **ที่มา:thebusinessresearch company.com ณ ม.ค. 68 และ CLSA ณ 18 ก.พ. 68)
“จากปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว
บลจ.กรุงศรี มองว่าเป็นจังหวะที่ดีในการเข้าลงทุนกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ไม่รวมจีน จึงได้เปิดเสนอขายกองทุน KF-EMXCN (กรุงศรีอีเมอร์จิ้งมาร์เก็ต เอ็กซ์ไชน่า อิควิตี้) ที่มีนโยบายลงทุนในกองทุนหลักชื่อ
RBC Funds (Lux) - Emerging Markets ex-China Equity Fund โดยจุดเด่นของกองทุนหลัก คือ
ใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบผสมผสานระหว่าง Top-down และ Bottom-up เพื่อคัดเลือกหุ้นที่มีศักยภาพเติบโตระยะยาว โดยพิจารณาถึงความยั่งยืนของธุรกิจ ทีมบริหาร และธรรมาภิบาลควบคู่กันไป พอร์ตของกองทุนหลักประกอบด้วยหุ้นประมาณ 45 - 50 ตัว มีการกระจายน้ำหนักลงทุนตามความเชื่อมั่นในหุ้นแต่ละตัว โดยมีระดับความผันผวนเฉลี่ยของกองทุนต่ำกว่าดัชนีอ้างอิง”
“
สำหรับพอร์ตการลงทุนปัจจุบันกองทุนหลักให้น้ำหนักการลงทุนในอินเดีย ไต้หวัน และเกาหลี พร้อมกระจายการลงทุนไปยังอุตสาหกรรมต่างๆ โดยกลุ่มไอที การเงิน และสินค้าอุปโภคบริโภค มีสัดส่วนสูงสุด 3 อันดับแรก หนึ่งในตัวอย่างหุ้นในพอร์ต เช่น Mahindra & Mahindra กลุ่มบริษัทข้ามชาติของอินเดียที่มีธุรกิจหลากหลายสาขา โดยมีความเชี่ยวชาญหลักในอุตสาหกรรมยานยนต์และการเกษตร และยังเป็นผู้ผลิตรถแทรกเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลก”
“
กองทุนหลักมีประวัติผลการดำเนินงานระยะยาวที่ดี โดยผลการดำเนินงานย้อนหลังเฉลี่ย 3 ปี อยู่ที่ 22.86% ดัชนีชี้วัด MSCI EM Ex-China Net Index (USD) อยู่ที่ 22.03% ผลการดำเนินงานย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งกองทุน (5 ต.ค. 63) อยู่ที่ 5.95% ดัชนีชี้วัด MSCI EM Ex-China Net Index (USD) อยู่ที่ 3.56%
(ที่มา : RBC Global Asset Management, MSCI ณ 28 ก.พ. 68 | ผลตอบแทนที่แสดงเป็นผลตอบแทนสุทธิหลังหักค่าธรรมเนียมการจัดการ โดยนำเงินปันผลรวมกลับคำนวณในผลตอบแทน /ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต / ผลการดำเนินงานที่แสดงเป็นผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน)
“
บลจ.กรุงศรี แนะนำกองทุน KF-EMXCN เป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีระยะยาวให้กับพอร์ตการลงทุน และผู้ที่มีพอร์ตการลงทุนในหุ้นจีนอยู่แล้ว แต่มองหากองทุนที่จะช่วยกระจายความเสี่ยง ลดความผันผวนจากตลาดจีนด้วย” คุณสุภาพร กล่าว
ข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม คลิกที่นี่
- ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน | ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- KF-EMXCN ลงทุนในกองทุนหลักศชื่อ RBC Funds (Lux) - Emerging Markets ex-China Equity Fund โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV | ระดับความเสี่ยง 6 : เสี่ยงสูง
- กองทุนป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้