Login@ccess
LoginEm@ccess
TH
เกี่ยวกับบลจ.กรุงศรี
ข่าว/ประกาศกองทุน
สรุปภาวะตลาด
วางแผนการลงทุน
ติดต่อเรา
การทำรายการซื้อ-ขาย
เมนูหลัก
ค้นหา
Home
เข้าสู่ระบบ
@ccess online
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
Seminar Booking
กองทุนรวม
หน้าหลักกองทุนรวม
กองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารตลาดเงิน
กองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้
กองทุนผสม
กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น
กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
กองทุนกรุงศรี 2TM
กองทุนอสังหาริมทรัพย์
กองทุนที่ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
Employee’s choice
จุดเด่นของ บลจ.กรุงศรี
แบบประเมินความเสี่ยง
ติดต่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
มูลค่าหน่วยลงทุน
ผลการดำเนินงานกองทุนรวม
Krungsri @ccess Mobile App
ลงทุนกองทุนกรุงศรี
สะดวกกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว
ดูเพิ่มเติม
ราคาหน่วยลงทุนย้อนหลัง
ผลการดำเนินงานย้อนหลัง
Quicklink
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สมัครบริการ @ccess online
กองทุนรวม
เปิดบัญชีและทำรายการ
ทดสอบระดับความเสี่ยง
หนังสือรับรองฯ SSF / RMF / LTF
ค้นหา
หน้าหลัก
>
วางแผนการลงทุน
>
เรียนรู้เกี่ยวกับการลงทุน
>
ทิศทางการลงทุนปี 2565
Quicklink
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สมัครบริการ @ccess online
กองทุนรวม
เปิดบัญชีและทำรายการ
ทดสอบระดับความเสี่ยง
หนังสือรับรองฯ SSF / RMF / LTF
เข้าสู่ระบบ
@ccess online
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
Seminar Booking
ทิศทางการลงทุนปี 2565
ดร. ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารความเสี่ยงด้านการลงทุน บลจ. กรุงศรี จำกัด
ตลอดปี 2564 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกมีความผันผวนค่อนข้างมาก จากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 การพบการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนส่งผลให้นักลงทุนทั่วโลกกลับมากังวลอีกครั้งว่า หากสายพันธุ์โอมิครอนสามารถแพร่กระจายได้รวดเร็วและมีผลรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลต้า อาจส่งผลให้เศรษฐกิจโลกกลับมาหดตัวอีกครั้ง อย่างไรก็ดี รายงานเบื้องต้นระบุว่า สายพันธุ์โอมิครอนส่งผลกระทบต่อสุขภาพเพียงเล็กน้อย และมีผู้เชี่ยวชาญบางส่วนมองว่า สายพันธุ์โอมิครอนอาจเป็นจุดสิ้นสุดของการระบาดของโควิด-19
หากการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนไม่ได้สิ่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ ทิศทางการลงทุนในปีหน้าน่าจะมีแนวโน้มที่ดี โดยไอเอ็มเอฟคาดว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2565 จะขยายตัว 4.9% ชะลอลงจากที่คาดว่าจะขยายตัว 5.9% ในปีนี้ที่เติบโตจากฐานต่ำ ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟคาดว่าเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วจะโต 4.5% ในปี 2565 ในขณะที่เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging market) และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะโต 5.1% ซึ่งเป็นการเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สำหรับเศรษฐกิจไทย สภาพัฒน์ประเมินว่าจะขยายตัว 1.2% ในปีนี้ และโต 3.5 – 4.5% ในปี 2565
การที่เศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโตดี บ่งชี้ว่าการบริโภคมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีในหลายภาคส่วน ตั้งแต่ภาคการผลิต ภาคขนส่งและบริการ ภาคการส่งออก ภาคการท่องเที่ยว เป็นต้น จะเห็นได้ว่าเครื่องจักรทางเศรษฐกิจกำลังจะเดินหน้าอย่างต่อเนื่องอีกครั้ง
ในวัฏจักรของการลงทุน ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว การลงทุนในหุ้นมีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนที่ดี เพราะผลประกอบการของบริษัทจะกลับมาเติบโต โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทที่ผลประกอบการมักเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงบริษัทที่ได้รับผลกระทบรุนแรงในช่วงของการระบาดของโควิด-19 อาจมีการพลิกฟื้นของผลประกอบการกลับมาเติบโตหลายเท่าตัวได้
อย่างไรก็ดี การลงทุนในหุ้นควรเลือกลงทุนเป็นรายตลาดหรือเป็นหุ้นรายตัว เพราะตลาดหุ้นบางประเทศฟื้นตัวมามากพอสมควรแล้ว และการฟื้นตัวของผลประกอบการของบริษัทต่างๆก็เป็นไปในอัตราที่ไม่เท่ากัน ในขณะที่บางบริษัทที่อ่อนแอมาก ก็อาจไม่สามารถฟื้นตัวได้
ทั้งนี้ การลงทุนในหุ้น นอกจากจะได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแล้ว ยังอาจได้แรงหนุนเพิ่มจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เช่น มาตรการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ของสหรัฐ มาตรการกระตุ้นการบริโภคของรัฐบาล ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในหลายประเทศยังคงอยู่ในระดับต่ำ
อย่างไรก็ดี การที่เศรษฐกิจฟื้นตัวพร้อมกันหลายประเทศ อาจส่งผลให้แรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากปัญหาการขาดแคลนอุปทานท่ามกลางอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงการระบาดของโควิด-19 ผู้ผลิตส่วนใหญ่ไม่ได้มีการลงทุนเพิ่มเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
ดังนั้น ถึงแม้การลงทุนในหุ้นในปี 2565 มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ดี แต่แนวโน้มเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้ธนาคารกลางหลายประเทศ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐ อาจตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด ซึ่งถึงแม้หลังมีการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว อัตราดอกเบี้ยจะยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าในอดีต แต่ก็อาจสร้างผลกระทบเชิงลบทางจิตวิทยาได้ อย่างไรก็ดี ตลาดอาจกลับมองว่าการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสะท้อนว่าเศรษฐกิจกำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่งและผลประกอบการของบริษัทต่างๆก็น่าจะออกมาแข็งแกร่งเช่นกัน
สำหรับตลาดหุ้นไทย คาดว่าในปี 2565 จะเป็นปีที่ดี เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในอัตราที่เร็วขึ้น โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว ซึ่งหากการระบาดของโควิด-19 สิ้นสุดลง และจีนอนุญาตให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ ก็จะส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างมาก
ในขณะที่ภาคการส่งออกน่าจะเติบโตได้แข็งแกร่งต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ในปีนี้ไทยประสบปัญหาเช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆในด้านการส่งออก กล่าวคือ ปัญหาการขาดแคลนอุปทานและขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ รวมถึงการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้บางโรงงานต้องหยุดการดำเนินงานชั่วคราว ดังนั้น หากปัญหาทุกอย่างคลี่คลายไปในทางที่ดี เศรษฐกิจไทยก็มีแนวโน้มเติบโตดีกว่าที่คาดมาก และส่งผลดีต่อตลาดหุ้นไทย
สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น โดยตลาดเริ่มตอบสนองต่อแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยไปบ้างแล้ว อย่างไรก็ดี นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นน่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนในปีหน้า
สำหรับทิศทางการลงทุนนี้เป็นเพียงการคาดการณ์แนวโน้มสำหรับปีหน้าบนสมมุติฐานว่าการระบาดของโควิด-19 มีทิศทางดีขึ้น หรือไม่แย่ไปกว่าเดิม ดังนั้น นักลงทุนควรติดตามข่าวสารและข้อมูลการลงทุนอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งประเมินความเสี่ยงที่ท่านยอมรับได้ก่อนการตัดสินใจลงทุน
ย้อนกลับ
วางแผนการลงทุน
เริ่มต้นการลงทุน
เรียนรู้เกี่ยวกับการลงทุน
วางแผนเพื่อลดหย่อนภาษี
แบบทดสอบระดับความเสี่ยง
เลือกกองทุนที่คุณสนใจ
-
คุกกี้
เว็บไซต์ของบริษัทมีการจัดเก็บข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบคุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงนำเสนอเนื้อหา และประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ที่ตรงกับความต้องการ การกดปุ่ม
“ตกลงทั้งหมด”
จะช่วยให้คุณได้รับประสบการณ์เต็มรูปแบบในการใช้งานเว็บไซต์ของบริษัท ทั้งนี้ คุณสามารถกำหนดการตั้งค่าคุกกี้แต่ละประเภทได้ตามที่คุณต้องการโดยกดปุ่ม
“ตั้งค่าคุกกี้”
โดยคุณสามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ประกาศการใช้งานคุกกี้
ของบริษัท
×
คุกกี้
คุกกี้ที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเว็บไซต์
Always Active
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานขั้นพื้นฐานของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การจดจำหน้าเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งานล่าสุด การสำรวจหน้าเว็บไซต์ การจดจำรหัสของผู้เข้าใช้งาน หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์เข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนสิทธิ์ไว้สำหรับสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้ การจัดเก็บคุกกี้ประเภทนี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องขอความยินยอมจากคุณเพราะคุกกี้ประเภทนี้ไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลซึ่งสามารถระบุตัวตนของคุณได้อย่างเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การจดจำการตั้งค่าภาษา ภูมิภาค ขนาดตัวอักษรของคุณในการใช้งานเว็บไซต์ นับจำนวนและแหล่งที่มาของผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์ เพื่อให้ทราบว่าผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์มีการปฏิสัมพันธ์กับหน้าเว็บไซต์อย่างไร และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด โดยการเก็บรวบรวมและการรายงานข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนของคุณอย่างไม่เฉพาะเจาะจงจะช่วยให้สามารถพัฒนาและมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดียิ่งขึ้น หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ อาจทำให้ไม่ทราบได้ว่าคุณเคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์เมื่อใดและไม่สามารถติดตามประสิทธิภาพการประมวลผลของหน้าเว็บไซต์ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
คุกกี้ประเภทนี้จะทำให้เว็บไซต์สามารถตอบสนองตามความพึงพอใจของคุณ โดยทำให้เราทราบถึงพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการเข้าใช้งานเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น สามารถจดจำการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้สำหรับคุณในครั้งถัดไป ทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของผู้ใช้ และวัดประสิทธิผลของโฆษณาของเรา คุกกี้ประเภทนี้อาจถูกติดตั้งไว้โดยบริษัทหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ การให้บริการบางอย่างของเว็บไซต์อาจไม่สามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง
คุกกี้สำหรับสื่อสังคมออนไลน์
คุกกี้ประเภทนี้สำหรับฟังก์ชั่นการกดไลค์ แชร์ หรือสมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์
คุณยืนยันลบข้อมูลการเก็บคุกกี้ของเว็บไซต์ของบริษัท ซึ่งไม่รวมถึงการจัดเก็บของบุคคลที่สาม เช่น Chrome, Firefox, Internet Explorer, Safari ฯลฯ ที่คุณต้องไปดำเนินการด้วยตนเอง