บลจ.กรุงศรีจับโอกาสลงทุนใหม่ในธุรกิจ Cyber Security หัวใจหลักในโลกดิจิทัล



บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงศรี จำกัด (บลจ.กรุงศรี) จัดสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “ลงทุนก้าวใหม่ไปกับ Cyber Security หัวใจหลักในโลกดิจิทัล” ที่เน้นธีมหุ้นกลุ่มเติบโตที่ยังมีศักยภาพ และโอกาสเติบโตควบคู่ไปกับกระแสโลกดิจิทัลและการใช้งานผ่านระบบ Cloud ที่ขยายตัวอย่างมากในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่ราคาหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง แต่ Cyber Security เป็นธีมที่ถูกปรับเพิ่มประมาณการของราคาตามมูลค่าพื้นฐานและการเติบโตของรายได้ จากความต้องการใช้ระบบป้องกันภัยทางไซเบอร์ขององค์กรทั่วโลก โดยใน 3 ปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม Cyber Security มีอัตราการเติบโตของรายได้อยู่ที่ประมาณ 20 - 30% ต่อปี (ที่มา: Allianz Global Investors ณ 31 ธ.ค. 2564) พร้อมกันนี้ บลจ.กรุงศรีได้เปิดตัวกองทุน “กรุงศรีไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (KFCYBER)” ที่ได้ Allianz Global Investors Fund - Allianz Cyber Security มาเป็นกองทุนหลัก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนในธุรกิจป้องกันภัยทางไซเบอร์มากว่า 20 ปี โดย KFCYBER จะเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 7 - 15 กุมภาพันธ์ นี้

ที่งาน บลจ.กรุงศรี ได้เชิญคุณ Johannes Jacobi Director, Senior Product Specialist จาก Allianz Global Investors GmbH และคุณเกียรติศักดิ์ ปรีชาอนุสรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนทางเลือก บลจ.กรุงศรี มาร่วมกันให้ข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามบนโลกดิจิทัล ความสำคัญของระบบป้องกันอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ โอกาสในการลงทุน ข้อมูลและจุดเด่นของกองทุน ตลอดจนหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และความคาดหวังในอนาคตที่จะทำให้กองทุน KFCYBER นี้มีความน่าสนใจ

คุณเกียรติศักดิ์กล่าวว่า ภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ที่มีมาในรูปแบบต่างๆ อาทิ ไวรัส Malware Ransomware นั้น เริ่มปรากฎเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้คนทั่วโลกต้องหันมาทำงานที่บ้านผ่าน Cloud และออนไลน์ผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ได้เปิดโอกาสให้เกิดช่องทางการจู่โจมทางโลกไซเบอร์เพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นดัน โดยคาดการณ์ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยทางไซเบอร์ในช่วงปี 2564 นั้นมีมูลค่าถึง 1% ของ GDP โลก ทำให้องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องเพิ่มการลงทุนในระบบป้องกันภัยทางออนไลน์ยิ่งขึ้น Cyber Security จึงเป็นธีมที่น่าสนใจในการลงทุนในปี 2565 นี้
ที่มา: J.P. Morgan, FBI IC3 Internet Crime Annual Reports (LHS), CSIS "The Hidden Costs of Cybercrime“ (RHS), ก.ย. 2564

คุณ Johannes ยังได้กล่าวถึง ผลสำรวจของ United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC) ที่พบว่า ในปีที่ผ่านมามีการจู่โจมทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นถึงกว่า 60% ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย และจากการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารองค์กรกว่า 2,000 คนทั่วโลกใน ช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ต่างเห็นว่าภัยคุกคามทางโลกไซเบอร์นั้น เป็นหนึ่งในประเด็นที่ทุกคนแสดงความกังวลมากที่สุด (รองจากเรื่องโรคระบาดและ Business Disruption) เพราะสร้างความเสียหายแก่องค์กรถึงหลายมิติ ทั้งความเสียหายทางการเงิน การเสื่อมเสียภาพลักษณ์และชื่อเสียง และยังมีข้อกำหนดจากภาครัฐที่ให้องค์กรต้องแสดงความรับผิดชอบหากไม่สามารถปกป้องข้อมูลได้อย่างเหมาะสม การลงทุนในระบบป้องกันภัยทางไซเบอร์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรต้องทำอย่างเร่งด่วน
ที่มา: 1Allianz Risk Monitor – Identifying the mayor business risks for 2021 ข้อมูลอ้างอิงจากการสอบถามพนักงานระดับผู้จัดการจำนวน 2,769 รายจาก 92 ประเทศ และ 22 กลุ่มอุตสาหกรรมเกี่ยวกับมุมมองของความเสี่ยงในด้านต่างๆ | 2varonis: 134 Cybersecurity Statistics and Trends for 2021 ณ ก.พ. 64 | 3worldwide; HfS Research ณ เม.ย. 63 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามออนไลน์ที่เป็นตัวแทนจากผู้ประกอบการหลัก ซึ่งมีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 631 ราย

อย่างไรก็ตาม คุณเกียรติศักดิ์กล่าวว่า ในปัจจุบัน การลงทุนในระบบป้องกันภัยนั้นยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ เพียง 1% ของการลงทุนในระบบ IT ขององค์กรเท่านั้น ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกัน  ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการเสริมระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เหมาะสมสำหรับองค์กรควรจะเพิ่มขึ้นเป็น 5 - 10% จึงจะเพียงพอ และด้วยความจำเป็นที่องค์กรต้องเสริมสร้างระบบป้องกันภัยทางไซเบอร์ จึงคาดว่าตลาดนี้จะสามารถเติบโตที่ระดับ 12% ต่อปีไปจนถึงปี 2573 การเติบโตอย่างมีนัยยะเช่นนี้จึงเป็นโอกาสที่เปิดกว้างสำหรับการลงทุน ซึ่งนักวิเคราะห์ทั่วโลกได้มีการปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตของรายได้และผลกำไรของหุ้นกลุ่ม Cyber Security ในปลายปีนี้ ว่ามี Upside มากถึง 41% ซึ่งถือว่าสูงมากสำหรับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ยังมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย และเงินเฟ้อที่จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น 
ที่มา: IDC, Crowdstrike , Dec 21
 
ที่มา: 1Businesswire: Global Cyber Security Market (2020 to 2030) - by Component, Security Type, Deployment, Enterprise, Use Case and Industry -ResearchAndMarkets.com ณ พ.ย. 63 | 2Accenture security, Innovate for Cyber Resilience, Third Annual State of Cyber Resilience ณ ปี 63 | 3Team8: 2021 Cybersecurity Brief

สำหรับกองทุน Allianz Global Investors Fund - Allianz Cyber Security ที่ทางบลจ.กรุงศรีคัดเลือกมานี้ มีจุดเด่นในการเป็นกองทุนหนึ่งเดียวที่มีความเชี่ยวชาญในด้าน Cyber Security มีทีมผู้จัดการกองทุนที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการและรู้จักธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับมายาวนาน สามารถคัดเลือกหุ้นที่เป็นผู้นำในแต่ละแขนงของ Cyber Security มาไว้ในพอร์ตลงทุน 

ทั้งนี้ คุณ Johannes  ได้อธิบายถึงธุรกิจประเภทต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Cyber Security ว่าสามารถแยกย่อยออกเป็นประเภทต่างๆ ตามความถนัดและความเชี่ยวชาญของแต่ละบริษัท ได้แก่ Perimeter Security เช่นระบบ firewall ที่ป้องกันการจู่โจมจากภายนอก, Network Security ระบบป้องกันภัยทางเน็ตเวิร์ค, Endpoint Security ระบบป้องกันอุปกรณ์ปลายทาง, Application Security ระบบป้องกันด้วยแอพพลิเคชั่น และ Data Security ระบบการป้องกันข้อมูลจากการโจมตีจากภายนอก ซึ่งกองทุนจะคัดเลือกสินทรัพย์ที่มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าแบบ Next Gen ใช้ AI ตรวจสอบพฤติกรรมแบบเชิงรุก สามารถป้องกันการจู่โจมได้อย่างรวดเร็ว มีศักยภาพเติบโตและเป็นผู้นำที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในตลาดประเภทนั้นๆ และจะกระจายการลงทุนใน 30 - 60 หลักทรัพย์ เน้นหนักในหุ้นเติบโตขนาดกลางและเล็ก และลดความเสี่ยงโดยกระจายในหุ้นขนาดใหญ่ด้วย 
ที่มา: Allianz Global Investors | *ข้อมูลการถือครองหลักทรัพย์โดยจัดกลุ่มตามประเภทของกลุ่มธุรกิจ ณ 31 ธ.ค. 64

สินทรัพย์ที่มีความโดดเด่นที่อยู่ในพอร์ตลงทุนปัจจุบัน ได้แก่ Cloudstrike ผู้นำในระบบป้องกันภัยทางคอมพิวเตอร์และมือถือ มีส่วนแบ่งในตลาด Endpoint Security สูงสุดในปัจจุบัน, บริษัท Zscaler ระบบป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือในกลุ่ม Application Security, บริษัท Okta ระบบป้องกันการจารกรรมข้อมูล ผู้นำในกลุ่ม Data Security, บริษัท Palo Alto Networks ระบบดักจับและป้องกันไวรัสอย่าง firewall ซึ่งอยู่ในประเภท Perimeter Security เป็นต้น รวมทั้งยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ซึ่งมีระบบป้องกันภัยทางไซเบอร์สำหรับซอฟท์แวร์ของไมโครซอฟท์ ทั้งนี้ สัดส่วนการลงทุนของกองทุนจะแบ่งออกเป็นการลงทุนในหุ้นที่มีการเติบโตสูง 50% หุ้นที่มีอัตราเติบโตสมเหตุสมผล 30% และหุ้นที่อยู่ในระดับราคาที่ค่อนข้างถูก 15% เพื่อให้พอร์ตลดความผันผวนลง ทำให้ที่ผ่านมากองทุนสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนได้ดีกว่าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีโดยทั่วไป มีความผันผวนต่ำกว่า (ที่มา: Allianz Global Investors)

คุณเกียรติศักดิ์กล่าวว่า ใน 3 ปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม Cyber Security มีอัตราการเติบโตของรายได้อยู่ที่ประมาณ 20 - 30% ต่อปี (ที่มา: Allianz Global Investors ณ 31 ธ.ค. 2564) ส่วนอัตราการเติบโตของผลกำไรหุ้นกลุ่ม Cyber Security ในอีก 3 - 5 ปีข้างหน้าของหุ้น 10 อันดับแรกของพอร์ตการลงทุน  คาดการณ์อยู่ที่ 33% ขณะที่การเติบโตในระยะยาวอยู่ที่ 13 - 15% ต่อปี นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบราคาปัจจุบันกับราคาคาดการณ์ในช่วง 1 ปีข้างหน้าของนักวิเคราะห์ พบว่าหุ้นกลุ่มนี้ยังมี Upside มากถึง 41% 
ที่มา: Bloomberg ณ 20 ม.ค. 2565 

สำหรับในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา หุ้น Cyber Security ได้ถูกปรับประมาณการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงสามเดือนที่ผ่านมาที่ราคาของหุ้นเติบโตได้ปรับตัวลดลง แต่นักวิเคราะห์ยังคงมีการปรับระดับราคาเป้าหมายของหุ้นกลุ่ม Cyber Security ขึ้นมา 13% สวนทางกับราคาที่ปรับลดลง นอกจากนี้ ปัจจัยที่มีกระทบต่อหุ้นเทคโนโลยี เช่น อัตราเงินเฟ้อเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าตลาดได้รับรู้เรื่องนโยบายการขึ้นดอกเบี้ยไปมากแล้ว การเพิ่มขึ้นของ Bond Yield ก็จะปรับขึ้นไปอีกได้ไม่มาก ความเสี่ยงที่หุ้นจะลงไปอีกจึงค่อนข้างจำกัด ช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะจะเข้าไปลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ เนื่องจากราคาได้ลดลงมามากในช่วงที่ตลาดผันผวน ขณะที่พื้นฐานของหุ้นยังแข็งแกร่ง 

คุณ Johannes  กล่าวเสริมว่ากองทุนหลักไม่มีความกังวลในประเด็นความเสี่ยงเรื่องอัตราดอกเบี้ย หรือเงินเฟ้อที่เกิดจากมาตรการ QE มากนักเนื่องจากหุ้นในพอร์ตยังคงมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง มีกระแสเงินสดที่ดี และยังเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้เติบโตได้อีกในระยะยาว อีกทั้งกองทุนมีการกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสมอยู่แล้ว จึงเชื่อว่าตลาดจะส่งผลกระทบในระยะสั้นเท่านั้น 

ทั้งนี้ กองทุน KFCYBER จะแบ่งเป็น 2 ชนิดหน่วยลงทุน คือ ชนิดสะสมมูลค่า (KFCYBER-A) และชนิดผู้ลงทุนสถาบัน (KFCYBER-I) เสนอขายครั้งแรก (IPO) 7 – 15 กุมภาพันธ์ นี้ ลงทุนขั้นต่ำเพียง 500 บาท ผู้สนใจสามารถซื้อกองทุนได้ที่สาขาธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือตัวแทนสนับสนุนการขาย  และ บลจ. กรุงศรี ทุกช่องทาง (@ccess Online  และ @ccess Mobile) โดยบลจ.กรุงศรี จัดโปรโมชั่นพิเศษคือ เมื่อลงทุนทุกๆ 100,000 บาทในกองทุน KFCYBER-A รับเพิ่ม หน่วยลงทุนกองทุน KFCYBER-A มูลค่า 100 บาท (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด) ข้อมูลกองทุน/โปรโมชั่น คลิกที่นี่

นโยบายการลงทุนและคำเตือน
  • KFCYBER ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ Allianz Global Investors Fund - Allianz Cyber Security, Class RT (USD) (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV กองทุน โดยกองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในตราสารทุนทั่วโลกของบริษัทที่ประกอบธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security)
  • ระดับความเสี่ยงกองทุน: ระดับ 6 | ป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน (ไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ)
  • กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

สามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ 
บลจ.กรุงศรี จำกัด โทร. 02-657-5757 หรือธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา

ย้อนกลับ

@ccess Mobile Application

ทำรายการกองทุนสะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว