ปรับพอร์ตเชิงรับ จัดทัพรับความผันผวน



27 กันยายน 2562 - บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงศรี จำกัด (บลจ.กรุงศรี) จัดสัมมนา “ปรับพอร์ตเชิงรับ จัดทัพรับความผันผวน” แนะนำกลยุทธ์ลงทุนเพื่อรักษาผลตอบแทนที่ดีท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัว และกองทุนที่เหมาะสำหรับลงทุนในภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน

โดย  Ms. Laura Bottega หนึ่งในทีมผู้จัดการกองทุนจาก Morgan Stanley Investment  Funds – Global Brands Fund (Class Z) และ คุณลดาวัลย์ อรุณยิ่งมงคล Senior Sales Manager, Wholesale Distribution (Southeast Asia), Janus Henderson Investors พร้อมด้วยคุณเกียรติศักดิ์ ปรีชาอนุสรน์ ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนทางเลือก บลจ.กรุงศรี  ร่วมกันอภิปรายและให้ข้อมูลภาพรวมเศรษฐกิจโลก กลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังคงน่าลงทุน รายละเอียดของกองทุน กลยุทธ์การคัดเลือกสินทรัพย์เพื่อลงทุน การบริหารจัดการความเสี่ยง ผลตอบแทนที่ผ่านมารวมถึงความน่าสนใจในอนาคต

คุณเกียรติศักดิ์กล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ว่าเป็นไปใน 3 ลักษณะ คือ มีอัตราเติบโตลดลง อัตราดอกเบี้ยลดลง และตลาดมีความผันผวนสูง ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวแม้ว่าอาจจะยังไม่ส่งผลทันทีในช่วงนี้ แต่ก็เริ่มมีผลกระทบต่อภาพรวมของการลงทุน ดังนั้น นักลงทุนจึงควรพิจารณาปรับพอร์ตติดอาวุธการลงทุนด้วยกลยุทธ์ 3 D คือ Diversify (กระจายความเสี่ยง) Defensive (ป้องกันความเสี่ยง) และ Dividend (เน้นการลงทุนที่สร้างกระแสเงินสด) โดยบลจ.กรุงศรี ได้คัดเลือก 2 กองทุนที่ตอบโจทย์ดังกล่าว ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้ (KFGBRAND) ที่ลงทุนผ่านกองทุนหลัก Morgan Stanley Investment Funds – Global Brands Fund (Class Z) และกองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลพร็อพเพอร์ตี้ (KFGPROP) ที่ลงทุนในกองทุน Janus Henderson – Global Real Estate Fund (Class I $ Inc)

คุณ Laura กล่าวถึงจุดเด่นของกองทุน Morgan Stanley Investment Funds – Global Brands Fund  คือ กลยุทธ์เชิงรับเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้วยการเลือกสินทรัพย์คุณภาพที่เป็นบริษัทที่มี ”แบรนด์” สินค้า มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับโลก อีกทั้งยังเป็นผู้นำในธุรกิจเป็นอันดับ 1 หรือ 2 ของตลาด มีความได้เปรียบทางการแข่งขันและเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคยังมีความต้องการใช้อย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย เช่น บริษัทยูนิลิเวอร์ ลอรีอัล ไฮเนเก้น วีซ่า เป็นต้น หรือเป็นบริษัทอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่สามารถคาดการณ์ที่มาของรายได้อย่างสม่ำเสมอ เช่น ธุรกิจซอฟท์แวร์หรือระบบเน็ตเวิร์คต่างๆ ที่เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ แต่ผู้บริโภคต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการรายปีเพื่อให้ใช้อย่างต่อเนื่อง เช่น ไมโครซอฟท์ นอกจากนี้ ยังต้องเป็นบริษัทมีการบริหารจัดการที่ดี สามารถรักษาผลกำไรได้อย่างมั่นคง ที่สำคัญ กองทุนยังมีการพิจารณาในเรื่องของราคาที่เหมาะสมในการเข้าลงทุนเพื่อช่วยลดความเสี่ยงและรักษาระดับผลตอบแทนที่ดีอีกด้วย
 
ที่มา: MS INVF Global Brands Fund (ณ 30 มิ.ย. 2562)
 
ปัจจุบันกองทุนมีการกระจายการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 39% กลุ่มไอที 29% กลุ่มเฮลธ์แคร์ 17% และกลุ่มอื่นๆ มีมูลค่ากองทุนรวมกว่า 47,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ที่มา: Morgan Stanley Investment Management / AUM as of June 30, 2019) ตลอด 18 ปีที่ผ่านมา กองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงในช่วงตลาดขาขึ้นและทำผลงานได้ดีกว่าตลาดเมื่ออยู่ในช่วงขาลงเช่นกันเมื่อเทียบกับดัชนี MSCI World ซึ่งมีผลตอบแทนติดลบถึง 6 ครั้งในรอบ 18 ปี แต่กองทุนติดลบเพียง 2 ครั้งและเป็นการติดลบที่น้อยกว่าตลาด และยังสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว สะท้อนถึงความสามารถในการบริหารจัดการความเสี่ยงของกองทุนได้เป็นอย่างดี

ที่มา: MS INVF Global Brands Fund (ณ  31 ส.ค. 2562)
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

สำหรับกองทุน KFGPROP เป็นกองทุน REITs ที่ลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลกผ่านกองทุนรวม Janus Henderson – Global Real Estate Fund คุณลดาวัลย์กล่าวว่า   ทีมผู้จัดการกองทุนมองว่าอสังหาริมทรัพย์เป็นสินทรัพย์ทางเลือกที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลกมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง มีระดับราคาที่น่าสนใจ และอสังหาฯจดทะเบียนมีราคาถูกกว่าสินทรัพย์ที่อยู่นอกตลาด นอกจากนี้ สินทรัพย์ของกองทุน REITs มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีภาคธุรกิจที่มีการเติบโตจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทำให้สามารถกระจายความเสี่ยงในการลงทุนไปยังสินทรัพย์ได้หลากประเภทมากขึ้น มีสภาพคล่องสูง สามารถสร้างรายได้จากการที่มีค่าเช่าอย่างสม่ำเสมอ มีอัตราการเติบโตของค่าเช่าเพิ่มขึ้นทุกปี และยังมีโอกาสได้ส่วนต่างผลกำไรจากมูลค่าอสังหาฯ ที่มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงสามารถรักษาผลตอบแทนได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว บนความเสี่ยงที่น้อยกว่า ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ย้อนหลัง 15 ปีจะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 8% เมื่อเทียบกับหุ้นมีผลตอบแทนเฉลี่ย 7.6% และตราสารหนี้อยู่ที่ 4.6%
 

กองทุนยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ประจำอยู่ในแต่ละภูมิภาค คอยเฟ้นหา และคัดเลือกสินทรัพย์ที่มีคุณภาพและศักยภาพที่จะเติบโตในอนาคต ปัจจุบันกองทุนให้น้ำหนักการลงทุนในกลุ่มโลจิสติกส์ โกดังสินค้า และ Data Center ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่เติบโตขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ที่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบธุรกิจค้าปลีกทำให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ผู้ให้บริการก็ต้องการเช่าพื้นที่จัดเก็บสินค้าเพิ่มขึ้นด้วย กองทุนยังมองหาโอกาสลงทุนในสินทรัพย์ที่อยู่ในช่วงฟื้นตัวในภูมิภาคต่างๆ เช่นภาคที่อยู่อาศัยในออสเตรเลีย ออฟฟิศให้เช่าในสิงคโปร์ สวีเดน ปารีส และจะลดน้ำหนักการลงทุนในภาคธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตลดลง เช่น ภาคที่อยู่อาศัยในสิงคโปร์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการที่รัฐบาลออกมาตรการเพิ่มภาษีเพื่อจำกัดการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติ หรือธุรกิจออฟฟิศให้เช่าอังกฤษซึ่งได้รับผลกระทบจาก Brexit เป็นต้น ปัจจุบัน กองทุนมีสินทรัพย์เด่นๆ อยู่ 50 - 60 ตัวอยู่ในพอร์ตการลงทุนกระจายอยู่ทั่วโลก
 


 

คุณเกียรติศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยปกติทั้งสองกองทุนนี้จะมีการป้องกันความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน และตั้งแต่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป จะมีการแยก share class ของทั้งสองกองทุน คือ Class A สะสมมูลค่า ไม่มีจ่ายเงินปันผล และ Class D แบบมีเงินปันผล นักลงทุนสามารถสับเปลี่ยนทั้งสองกองทุนได้โดยไม่มีค่าธรรมเนียม
 
สนใจดูข้อมูลกองทุน  คลิก  KFGBRAND-A, KFGBRAND-D, KFGPROP-A, KFGPROP-D
 
คำเตือน
  • เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนการลงทุน
  • KFGPROP และ KFGBRAND อาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย
  • KFGPROP และ KFGBRAND มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • KFGPROP ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ 
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด 
โทร 0 2657 5757 | www.krungsriasset.com 
หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จากัด (มหาชน) / ผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน

ย้อนกลับ

@ccess Mobile Application

ทำรายการกองทุนสะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว