บลจ.กรุงศรี จับโอกาสลงทุนในธุรกิจ Start-up เด่นของอาเซียน



บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงศรี จำกัด จัดสัมมนาออนไลน์เปิดตัว กองทุนเปิดกรุงศรี Finnoventure PE Y2033 – ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (Finnoventure PE Y2033: KFFVPE – UI) สำหรับนักลงทุนรายใหญ่พิเศษที่ต้องการลงทุนในธุรกิจ Start-up ชั้นน้ำในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีศักยภาพเติบโตเป็น Unicorn พร้อมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาคได้ในอนาคต โดยกองทุน KFFVPE-UI ของ บลจ.กรุงศรี นับเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ลงทุนใน Private Equity กองทุนแรกในประเทศไทยที่ให้นักลงทุนรายบุคคลประเภทรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth Investor: UI) ร่วมลงทุนได้ในธุรกิจ Start-up ของไทยและภูมิภาคผ่าน ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท อิควิตี้ ทรัสต์ I     


ทั้งนี้ กองทุน KFFVPE-UI เป็นความร่วมมือผสานจุดแข็งของสถาบันการเงินชั้นนำ ได้แก่ บริษัทกรุงศรีฟินโนเวต จำกัด ซึ่งเป็น Corporate Venture Capital ที่จัดตั้งขึ้นในปี 2560 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และ บลจ.กรุงศรี โดยกรุงศรีฟินโนเวต ถือหุ้น 100% โดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา ถือเป็นบริษัทได้รับการยอมรับในฐานะผู้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการเฟ้นหาธุรกิจ Start-up เพื่อลงทุน ประสบความสำเร็จมาแล้วกับการเข้าลงทุนและปั้นธุรกิจ Start-up มาแล้วมากกว่า 15 แห่งด้วยเงินลงทุนกว่า 1,500 ล้านบาทตลอด 4 ปีที่ผ่านมา และนับเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่เป็นพันธมิตรร่วมงานกับ Start-up มากที่สุดในอาเซียน (ที่มา: Krungsri Finnovate ณ พ.ค. 64)

คุณวิน พรหมแพทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานลูกค้าไฮเน็ตเวิร์ธ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ปกติการลงทุนในธุรกิจ Start-up มีไว้สำหรับนักลงทุนสถาบันเท่านั้นเนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง ดังนั้น กองทุน KFFVPE-UI ที่จัดตั้งขึ้นมาก็เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนรายบุคคลสามารถร่วมลงทุน ไปพร้อมกับนักลงทุนสถาบันอื่นๆ โดยต้องสามารถลงทุนได้ในระยะยาวอย่างน้อย 12 ปีตลอดระยะเวลาของโครงการ และการลงทุนใน Private Equity นี้เป็นการลงทุนในธุรกิจที่เป็นเทรนด์ใหม่ๆ ได้แก่ Start-up ชั้นนำของอาเซียนที่จะเติบโตในอนาคต


ที่มา: Krungsri Finnovate

ด้านคุณเกียรติศักดิ์ ปรีชาอนุสรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนทางเลือก บลจ.กรุงศรี กล่าวถึงความน่าสนใจของการลงทุนในธุรกิจ Start-up ว่าเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตสูงมากจากการที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการทำธุรกิจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค โดยธุรกิจสามารถสร้างรายได้จากการทำซ้ำ และขยายธุรกิจให้เติบโตได้ง่าย ทั้งนี้ ธุรกิจ Start-up สามารถแบ่งได้เป็นหลายระดับ ตั้งแต่ระดับเริ่มบ่มเพาะธุรกิจไปจนถึงระดับ Series ต่างๆ อย่าง Series A ขึ้นไป ซึ่งเป็นระดับที่น่าสนใจในการลงทุนเนื่องจากธุรกิจได้ผ่านช่วงการบ่มเพาะธุรกิจมาแล้ว จนเริ่มเป็นที่รู้จักและเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่มากขึ้น ดังนั้น Upside ของการลงทุนใน Start-up จึงค่อนข้างสูง ทั้งนี้ เป้าหมายของธุรกิจ Start-up คือการสามารถขยายกิจการจนเติบโตจนสามารถถูกควบรวมกิจการหรือเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ตัวอย่าง Start-up ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในภูมิภาคเอเชียได้แก่ Alibaba, Grab, Traveloka เป็นต้น
ที่มา: Crunchbase, Krungsri Finnovate

สำหรับคุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรีฟินโนเวต จำกัด กล่าวถึงนโยบายการลงทุนของกองทุนฟินโนเวนเจอร์ว่า กองทุนจะเน้นลงทุนใน 3 ธีมธุรกิจเด่นๆ ซึ่งกองทุนมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างดี ได้แก่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Fintech อีคอมเมิร์ซ และ เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่หรือ Automotive Tech ซึ่งมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมากตามความต้องการของผู้บริโภคในอาเซียน ทั้งนี้ กองทุนให้น้ำหนักการลงทุน 70% ในประเทศไทยและอีก 30% ในประเทศอื่นๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ เวียดนาม และกองทุนตั้งเป้าลงทุนในธุรกิจประมาณ 15-25 บริษัท ด้วยจำนวนเงินลงทุนระหว่าง 30-150 ล้านบาทต่อหนึ่งสินทรัพย์ โดยในแต่ละบริษัทจะลงทุนครั้งแรกประมาณ 70% และรอบต่อๆ ไปอีก 30% 
ที่มา: Krungsri Finnovate

คุณแซมอธิบายเพิ่มเติมว่าธุรกิจ Start-up ในภูมิภาคเอเชียเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4 - 5 ปีที่แล้วต่อจากสหรัฐและยุโรป แม้ในช่วงวิกฤติโควิด-19 ในปี 2563 - 2564 ธุรกิจ Start-up ก็ยังสามารถเติบโตสูงขึ้นอย่างมากเนื่องจากธุรกิจมีนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการและแก้ไขปัญหาของผู้บริโภค สามารถเข้าถึงได้ผ่านช่องทางออนไลน์ เมื่อตลาดมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น ธุรกิจ Start-up จึงมีการระดมทุนเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยตั้งแต่ปลายปี 2563 ที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน การระดมเงินทุนของ Start-up ทั้งในไทยและอาเซียนมีมูลค่ารวมกว่า 8.16 พันล้านเหรียญสหรัฐ  โดยถึงแม้ว่าประเทศไทยจะยังมียอดการระดมเงินทุนที่น้อยกว่าประเทศอื่นๆ แต่ก็มีสัญญาณการเติบโตอย่างโดดเด่นและยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมากในอนาคต 
นอกจากนี้ ธุรกิจ Start-up ในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนมีความน่าสนใจอย่างมากทั้ง Start-up ที่เกิดขึ้นมาในภูมิภาค และยังมี Start-up จากสหรัฐ ยุโรป และอิสราเอลที่มาเปิดสำนักงานในภูมิภาคนี้ สำหรับธุรกิจ Start-up ที่เติบโตอย่างโดดเด่นในประเทศไทยได้แก่ Flash Express ที่กรุงศรีฟินโนเวตได้เข้าไปลงทุนตั้งแต่เริ่มแรก หรือบริษัท Wongnai ที่รวมกับ Lineman ไปแล้ว และบริษัทอื่นๆ อย่าง Synqa, aCommerce, Bitkup และ Kaidee เป็นต้น สำหรับดาวเด่นในภูมิภาคได้แก่ Grab ที่กรุงศรีได้เข้าไปลงทุนใน Series H หรือธุรกิจการเงินอย่าง FinAccel และการท่องเที่ยวอย่าง Traveloka ที่กำลังจะเข้าจดทะเบียนในตลาด  Nasdaq ก็มีการ เติบโตอย่างชัดเจนมากกว่า 3 เท่าในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา
และในช่วงวิกฤติโควิด-19 เป็นช่วงปีที่กรุงศรีฟินโนเวตมีการลงทุนใน Start-up มากที่สุด โดยมีการลงทุนไปแล้วใน 7 - 8 ธุรกิจ คุณแซมกล่าวว่า การระดมทุนของ Start-up ในประเทศไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกอย่างมากในอีก 3 - 5 ปีข้างหน้า และมีอีกหลายธุรกิจที่จะเติบโตเป็นอย่างมากหลังจากโควิด-19ผ่านพ้นไป ปีนี้จึงเป็นปีที่เหมาะสมที่จะเข้าลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้
ที่มาข้อมูล: Krungsri Finnovate

ทั้งนี้ จุดเด่นของกรุงศรีฟินโนเวตคือเป็นบริษัทภายใต้การดำเนินการของธนาคารกรุงศรีอยุธยาและ MUFG Financial Group ซึ่งได้มีการเข้าไปลงทุนในกิจการธนาคารในประเทศอาเซียนต่างๆ ดังนั้น กรุงศรีฟินโนเวตจึงมีฐานการเงินที่แข็งแกร่งที่จะช่วยต่อยอดการลงทุนในสินทรัพย์ของแต่ละประเทศได้ต่อไป​ 
ด้านคุณวิน จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท อิควิตี้ ทรัสต์ I มีข้อดีคือ มีแบ่งการบริหารอย่างชัดเจน คือ กรุงศรีฟินโนเวตทำหน้าที่เป็นผู้บริหารกองทุน และมีทรัสตีเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์จากการลงทุนของกองทุน จึงสามารถตรวจสอบการทำงานซึ่งกันและกันได้ 


อย่างไรก็ดี การลงทุนใน Start-up มีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วไปที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แต่ก็มีโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่า กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงด้วยการคัดกรองสินทรัพย์ที่จะเข้าลงทุนอย่างเข้มข้น โดยจะเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่อยู่ในช่วงระยะของการเติบโตตั้งแต่ Series A ขึ้นไป นอกจากนี้ กองทุนยังมีกลยุทธ์ในการทำ Synergy กับ Start-up ที่กองทุนเข้าร่วมลงทุนด้วย โดยจะส่งทีมผู้เชี่ยวชาญเข้าไปทำงานร่วมกับ Start-up ที่เข้าไปร่วมลงทุน เป็นที่ปรึกษารวมทั้งจัดหาลูกค้าให้เพื่อทำให้เกิดการเติบโตอย่างแท้จริง จึงเป็นการป้องกันความเสี่ยงและสร้างความมั่นใจในการเจริญเติบโตของธุรกิจได้อีกทางหนึ่ง
ที่มา: แหล่งข้อมูล: Krungsri Finnovate ●  ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงกรอบการลงทุนซึ่งอาจแตกต่างจากพอร์ตการลงทุนจริง  ● PE ทรัสต์อาจมีการปรับเปลี่ยนประเทศ รูปแบบการลงทุน ประเภทธุรกิจการลงทุน ระดับของ Start-up ที่ลงทุน จำนวนกิจการเป้าหมาย การจัดสรรเงินลงทุน รวมถึงกลยุทธ์การลงทุนอื่นใดที่ไม่ได้ระบุในเอกสารฉบับนี้ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการทรัสต์ ● Start-up ระดับ Series A หมายถึง รอบการลงทุน A ซึ่งเป็นช่วงที่ธุรกิจของ Start-up เป็นที่รู้จักแล้ว จึงต้องการที่จะออกผลิตภัณฑ์หรือขยายฐานลูกค้าที่ใหญ่ขึ้น หรือจะขยายตัวไปสู่ตลาดใหม่ รวมถึงการปรับรูปแบบทางธุรกิจเพื่อให้เหมาะกับตลาดที่กว้างขึ้น

สำหรับนักลงทุน ที่ต้องการลงทุน สามารถลงทุนผ่านกองทุนรวม KFFVPE-UI ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำ เริ่มต้นที่ 1 ล้านบาท โดยต้องมีคุณสมบัติการเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. ทั้งนี้ ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท อิควิตี้ ทรัสต์ I มีค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการอยู่ที่ 2.5% ของเงินลงทุนทั้งหมด ในปีที่ 1 - 5 และปีที่ 6 เป็นต้นไป ลดเหลือ 2% ต่อปีของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ไม่รวมกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง หรือ 20 ล้านบาทต่อปี ขึ้นอยู่กับว่าจำนวนเงินใดจะสูงกว่า และเมื่อ PE ทรัสต์ได้รับผลตอบแทนที่คาดหวัง (Hurdle rate) จากการลงทุนในกิจการ Start-up ตั้งแต่ 8% ขึ้นไป ผู้จัดการทรัสต์จะได้รับส่วนแบ่งกำไรในอัตรา 20% ของกำไรส่วนที่เกินทุน แต่ถ้า PE ทรัสต์ ทำอัตราผลตอบแทนได้ไม่ถึง 8% ผู้จัดการทรัสต์ก็จะไม่ได้รับเงินส่วนแบ่งนี้
สำหรับผลตอบแทนจากการลงทุนนั้น นักลงทุนมีโอกาสได้รับเงินลงทุนได้รับเงินคืนก่อนระยะเวลากำหนดของกองทุน เมื่อมีสินทรัพย์บางตัวในพอร์ตที่กองทุนได้ลงทุนไว้ก่อนแล้วสามารถ Exit โดยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือถูกควบรวมกิจการ ทำให้สินทรัพย์ให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นมาก กองทุนก็จะมีโอกาสคืนเงินในส่วนนี้ให้กับนักลงทุนทันที และคาดว่าตั้งแต่ช่วงปีที่ 3 เป็นต้นไป ในแต่ละปีน่าจะมีสินทรัพย์ที่ทยอย Exit และทำให้กองทุนมีโอกาสคืนเงินลงทุนให้นักลงทุนได้ในช่วงระยะเวลาของโครงการ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงการคาดการณ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ตลาดที่เกิดขึ้นจริงด้วย
ที่มา: Krungsri Finnovate • IRR (Internal rate of return) คือ อัตราผลตอบแทนที่คำนวณจากกระแสเงินสดที่จ่ายให้กับและได้รับจาก PE ทรัสต์ • ผลตอบแทนคาดหวัง (Preferred return หรือ Hurdle rate) อัตราร้อยละ 8 ต่อปี โดยคำนวณรายวันและทบต้นรายปี • เงินสำรองเพื่อกันไว้สำหรับการบริหารจัดการ PE ทรัสต์เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เพื่อการลงทุนเพิ่มเติม เพื่อชำระค่าใช้จ่ายหรือภาระผูกพันใดๆ หรืออาจใช้เพื่อวัตถุประสงค์โดยชอบอื่นใด รวมถึงเงินสำรองเพื่อกันไว้สำหรับค่าใช้จ่ายหรือภาระผูกพันอื่นในของกองทุน KFFVPE-UI อาจส่งผลต่อกระแสเงินสดที่ผู้ลงทุนจะทยอยได้รับระหว่างอายุกองทุน และทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนต่ำกว่ากรณีไม่มีการตั้งสำรองไว้ • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เกิดกับ PE ทรัสต์ รวมถึงส่วนแบ่งกำไรให้กับผู้จัดการทรัสต์ และค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุน KFFVPE-UI ย่อมส่งผลต่อผลตอบแทนของกองทุนให้ลดลงได้ • PE ทรัสต์จะไม่มีการเรียกคืนเงินที่ได้จ่ายออกไปแล้วให้แก่กองทุนเพื่อนำไปลงทุนต่อหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดโดยชอบ • ตัวเลขและข้อมูลนี้ เป็นเพียงตัวอย่างการคำนวณเพื่อประกอบการอธิบายการจัดสรรผลตอบแทนและการชำระเงินคืนเท่านั้น มิได้เป็นการรับประกันว่าเป็นผลการดำเนินงานที่ PE ทรัสต์จะสามารถทำได้ และไม่ใช่ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับจริง

ทั้งนี้ กองทุน KFFVPE-UI จะเสนอขายเพียงครั้งเดียวระหว่างวันที่ 16   -  22    ธันวาคม 2564 เท่านั้น    นักลงทุนที่สนใจสามารถซื้อกองทุนได้ที่ บลจ.กรุงศรี จำกัด โทร. 02-657-5757   หรือ   ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา และตัวแทนสนับสนุนการขายและรับซื้อคืนดังนี้
  • บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) โทร. 02-659-7000
  • บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด โทร. 02-026-5100

โปรดศึกษารายละเอียดข้อมูลกองทุน คลิกที่นี่ 
 

นโยบายการลงทุน

  • กองทุนเน้นลงทุนในหน่วย private equity โดยไม่จำกัดอัตราส่วน สามารถมีสัดส่วนการลงทุนในหน่วย private equity สูงสุดร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ผ่านการลงทุนใน PE ทรัสต์
  • PE ทรัสต์ ชื่อ ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท อิควิตี้ ทรัสต์ I ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อระดมเงินลงทุนแบบจำกัดจำนวนผู้ลงทุนที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมลงทุนในลักษณะของ Venture Capital (VC) ในกิจการ Start-up ของบริษัทเอกชนที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งในและต่างประเทศ และเป็นกิจการ Start-up ที่มีเทคโนโลยีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอุตสาหกรรมนั้นๆ ได้แก่ การเงิน (Financial tech) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) และ ยานยนต์ (Automotive) เป็นต้น
  • PE ทรัสต์ดังกล่าวจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) (“MFC”) เป็นทรัสตี ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดการ PE ทรัสต์ และมีบริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด เป็นผู้จัดการทรัสต์ ซึ่งทำหน้าที่ในการจัดการลงทุน  ทั้งนี้ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด เป็นบริษัทร่วมลงทุน (Corporate Venture Capital : CVC) จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2560 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย มีธนาคารกรุงศรีเป็นผู้ถือหุ้น 100% บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด มีประสบการณ์การลงทุนมากกว่า 15 Start-up รวมเงินลงทุนมากกว่า 1,500 ล้านบาท และนับเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่เป็นพันธมิตรร่วมงานกับ Start-up มากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นที่ยอมรับจากหลากหลายสถาบันชั้นนำ
  • PE ทรัสต์ อาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient Portfolio Management: EPM) และเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยมีอัตราส่วนการลงทุนเพื่อ EPM สูงสุดไม่เกินร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
  • PE ทรัสต์ มีกำหนดเงินเรียกลงทุนทั้งหมด (Total Committed Capital) ประมาณ 3,000 ล้านบาท ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการทรัสต์ โดย PE ทรัสต์ มีอายุโครงการ 10 ปี และสามารถต่ออายุได้ 2 ครั้งๆ ละ 1 ปี หากยังมีทรัพย์สินใน PE ทรัสต์เหลืออยู่และผู้จัดการทรัสต์พิจารณาแล้วเห็นว่าการต่ออายุออกไปจะเป็นประโยชน์กับผู้ถือหน่วยลงทุนมากกว่า  ทั้งนี้ อาจเลิกโครงการก่อน 12 ปีได้หากผู้จัดการทรัสต์ใช้ดุลยพินิจเลิก PE ทรัสต์
  • กองทุนไม่กำหนด minimum committed capital โดยกองทุนจะทยอยลงทุนตามที่ PE ทรัสต์มีการเรียกระดมทุน (Capital call) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 คราวๆ ละประมาณ     ร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน หรือเป็นไปตามระยะเวลาหรือจำนวนที่ผู้จัดการ ทรัสต์กำหนด โดยในระหว่างรอเรียกระดมทุนนี้ กองทุนจะลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำและสภาพคล่องสูง เช่น ตราสารภาครัฐ และเงินฝากธนาคาร เป็นต้น
  • กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non-Investment Grade) ตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated) หรือตราสารทุนของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Unlisted Securities) โดยไม่จำกัดอัตราส่วน
  • กองทุนอาจลงทุนในตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Notes)
  • บริษัทจัดการอาจพิจารณาลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินหรือไม่ก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทจัดการ
  • กองทุนจะไม่ทำธุรกรรมการขายหลักทรัพย์ที่ไม่มีอยู่ในครอบครอง (Short Sell) การขายโดยมีสัญญาซื้อคืน (Repurchase Agreement) และการกู้ยืม เว้นแต่การกู้ยืมและ repo เพื่อการบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวมตามที่กำหนดไว้ในโครงการจัดการเท่านั้น
  • กองทุนมีประมาณการผลตอบแทนภายใต้สถานการณ์เชิงลบอย่างมากที่สุด (worst case scenario) จากการที่ PE ทรัสต์ มีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (derivatives) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน ไม่เกินร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
  • ระดับความเสี่ยงกองทุน: 8+ เสี่ยงสูงมากอย่างมีนัยยะสำคัญ | ป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
คำเตือนสำคัญ
1. กองทุนมีการลงทุนในหน่วย private equity ซึ่งเหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาว (ประมาณ 10 - 12 ปี)
2. กองทุนมีนโยบายที่จะเน้นลงทุนใน private equity โดยไม่จำกัดอัตราส่วน สามารถมีสัดส่วนการลงทุนในหน่วย private equity สูงสุดร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ผ่านการลงทุนใน PE ทรัสต์ ชื่อ ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท อิควิตี้ ทรัสต์ I เพื่อร่วมลงทุนในลักษณะของ Venture Capital (VC) ในกิจการ Start-up ของบริษัทเอกชนที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมีความแตกต่างและมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมทั่วไป อีกทั้งมีสภาพคล่องต่ำ ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินต้นหรือไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวัง กองทุนนี้จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่มีความเข้าใจในหลักทรัพย์ประเภทนี้เป็นอย่างดี และสามารถรับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น
3. กองทุนรวมนี้มีสภาพคล่องจำกัด เนื่องจากเป็นกองทุนที่ไม่เปิดให้ซื้อขายได้ทุกวันแบบกองทุนเปิดทั่วไป โดยกองทุนมีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติในระหว่างอายุโครงการตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนและเมื่อครบอายุกองทุนประมาณ 12 ปีเท่านั้น
4. กองทุนมีอายุโครงการ 12 ปี แต่อาจเลิกโครงการก่อน 12 ปีได้หากผู้จัดการทรัสต์ใช้ดุลยพินิจเลิก PE ทรัสต์ ผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ภายในช่วงเวลาดังกล่าว 
5. กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง และ/หรือในประเทศใดประเทศหนึ่ง ดังนั้น ผลการดำเนินงานจึงอาจผันผวนมากกว่ากองทุนรวมทั่วไปที่มีการกระจายการลงทุน ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาความเสี่ยงและการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเอง และข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจก่อนตัดสินใจซื้อหน่วยลงทุน
6. เนื่องจากลักษณะของโครงการลงทุนของ PE ทรัสต์ กองทุนจึงอาจมีความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในบริษัทซึ่งอยู่ในระยะเริ่มต้นและ/หรือบริษัทที่อยู่ในประเภทธุรกิจที่เน้นการลงทุน ได้แก่ กลุ่มธุรกิจ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเงิน (Financial tech) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)และยานยนต์ (Automotive) บริษัทเหล่านี้อาจรับภาระของภาวะในทางลบของธุรกิจและเศรษฐกิจได้น้อยกว่าบริษัทที่มีขนาดใหญ่กว่าและก่อตั้งมานานกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่อยู่ในระยะเริ่มต้นอาจขาดประสบการณ์หรือความรู้ความสามารถในด้านการบริหารจัดการ และความสามารถที่จะเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของตน ขาดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และมีเงินทุนไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน การวิจัยและการพัฒนา อีกทั้งเทคโนโลยีของบริษัทเหล่านั้นอาจยังไม่ได้รับการทดสอบ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ผู้ออกหลักทรัพย์ในระยะเริ่มต้นมีแนวโน้มที่จะล้มเหลวในด้านการดำเนินงานและการเงิน ซึ่งมีผลในทางลบต่อความอยู่รอดของผู้ออกหลักทรัพย์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่นในธุรกิจเดียวกัน บริษัทเหล่านั้นอาจไม่มีประวัติการดำเนินงานที่สร้างผลกำไร หรืออาจมีประวัติการดำเนินงานที่สร้างผลกำไรอย่างจำกัดและไม่สามารถสร้างผลกำไรได้ในอนาคต และอาจมีความผันผวนสูงในด้านรายได้ ค่าใช้จ่ายและผลกำไร และอาจพึ่งพาการบริหารจัดการโดยบุคลากรหลักเพียงคนเดียวหรือไม่กี่คน อีกทั้งอาจมีความอ่อนไหวต่อความสูญเสียและความเสี่ยงต่อการล้มละลายที่สูงกว่า
7. กรณี PE ทรัสต์ ไม่สามารถจำหน่ายทรัพย์สินหรือถอนตัวจากการลงทุนได้สำเร็จในเวลาหรือราคาที่ต้องการ เพื่อคืนเงินต้นและ/หรือจ่ายผลตอบแทนให้แก่กองทุนภายในระยะเวลาที่เหมาะสมหรือภายในอายุโครงการกองทุน อาจส่งผลให้ผู้ลงทุนสูญเสียเงินต้นและผลตอบแทนตามที่คาดหวังได้
8. เมื่อครบอายุโครงการ หาก PE ทรัสต์ไม่สามารถจำหน่ายหรือถอนการลงทุนในกิจการเป้าหมายได้ทั้งหมด ผู้จัดการทรัสต์หรือผู้ชำระบัญชีที่ได้รับการแต่งตั้ง อาจคืนเงินลงทุนด้วยทรัพย์สินอื่นใดที่มิใช่เงินแก่ผู้ลงทุนด้วยราคายุติธรรมหรือราคาตลาดในขณะนั้น ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือสูญเสียเงินต้นจากการลงทุนได้ หรือผู้จัดการทรัสต์หรือผู้ชำระบัญชีที่ได้รับการแต่งตั้งอาจใช้ดุลยพินิจจำหน่ายทรัพย์สินที่เหลืออยู่ไปยังนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special-purpose vehicle) ที่จัดตั้งขึ้นและควบคุมโดยผู้จัดการทรัสต์หรือกิจการที่เกี่ยวข้องที่ราคายุติธรรมหรือราคาตลาด หรือจำหน่ายแก่บุคคลอื่นใด ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือสูญเสียเงินต้นจากการลงทุนได้
9. PE ทรัสต์อาจมีการเพิ่มรอบเวลาวันปิดรับการลงทุน (Subsequent closing) และรับผู้ลงทุนรายอื่นเพิ่มในภายหลัง (Subsequent closing investor) รวมถึงเปิดโอกาสให้นักลงทุนในรอบปิดรับการลงทุน (Closing) ก่อนหน้าหรือรอบแรก (Prior investor) เพิ่มเงินลงทุนได้ โดยเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาก่อตั้งทรัสต์และตามดุลยพินิจของผู้จัดการทรัสต์ ผู้ลงทุนเพิ่มภายหลัง (Subsequent closing investor) นี้ จะเข้ามีส่วนร่วมในพอรต์การลงทุนของ PE ทรัสต์ และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนการรับผู้ลงทุนเพิ่มในภายหลัง (Subsequent closing investor) เข้ามาตามสัดส่วนเงินลงทุน โดยวิธีการคำนวณเพื่อจัดสรรสัดส่วนการลงทุนใน PE ทรัสต์และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม (ถ้ามี) จะคำนวณโดยผู้จัดการทรัสต์ การรับผู้ลงทุนและเงินลงทุนเพิ่มนี้ อาจทำให้สัดส่วนการลงทุนใน PE ทรัสต์ของผู้ลงทุนก่อนหน้าเปลี่ยนแปลงไปและอาจส่งผลให้ผลตอบแทนคาดหวังลดลงได้
10. อาจมีผู้ลงทุนรายใดใน PE ทรัสต์ที่ผิดนัดชำระเงินเรียกลงทุน (Defaulting investor) ส่งผลให้การลงทุนของ PE ทรัสต์ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง หรือสูญเสียโอกาสการลงทุน รวมถึงเกิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีทางกฏหมาย การเรียกร้องค่าเสียหายต่อผู้ลงทุนรายนั้น และส่งผลต่อผลตอบแทนของ PE ทรัสต์ได้
11. ผู้ลงทุนบางรายใน PE ทรัสต์อาจไม่ถูกกำหนดให้ชำระเงินลงทุนหรือไม่ถูกกำหนดให้นำเงินส่วนที่จะจัดสรรคืนไปลงทุนต่อ (Excused investor) ตามที่ตกลงไว้ หากมีเหตุที่เชื่อได้ว่า 
  • การลงทุนของผู้ลงทุนรายนั้นอาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบอย่างมีนัยยะสำคัญต่อผู้ลงทุน รายนั้นเองและผู้ลงทุนรายดังกล่าวได้แสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรและปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์อย่างครบถ้วนแล้ว หรือ
  • เมื่อผู้จัดการทรัสต์มีเหตุที่เชื่อได้ว่าการเข้าร่วมลงทุนของผู้ลงทุนรายใด ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนบางส่วนหรือทั้งหมดจากผู้ลงทุนรายนั้น อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบอย่างมีนัยยะสำคัญ หรืออาจทำให้ 1) PE ทรัสต์ไม่สามารถเข้าลงทุนหรือดำเนินการใดๆได้สำเร็จ หรือ 2) ก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้น หรือเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนหรือการดำเนินการใดๆของ PE ทรัสต์ หรือ  3) ก่อให้เกิดหน้าที่ภาระทางภาษี กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องใดๆ ไม่ว่าจะต่อ PE ทรัสต์ กิจการเป้าหมายที่จะลงทุน ผู้ลงทุนรายอื่นใด หรือบริษัทในเครือ หรือ 4) ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอย่างมีนัยยะสำคัญ
การมี Excused investor เกิดขึ้นนี้ อาจส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงต่อการเรียกชำระเงินลงทุนและสัดส่วนการลงทุนของผู้ลงทุนที่เหลือใน PE ทรัสต์ อย่างไรก็ตาม การเรียกชำระเงินลงทุนจะไม่เกินจากจำนวนเงินลงทุนที่ตกลงไว้ (Committed capital)
12. ในช่วงปีแรกๆของการจัดตั้ง PE ทรัสต์ มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับจากการจำหน่ายการลงทุน (Realization value) อาจมีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าเงินลงทุนเริ่มต้น โดยอาจมีสาเหตุจากผลกระทบของค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งและการดำเนินการ อีกทั้ง PE ทรัสต์เพิ่งอยู่ในระยะเริ่มต้นของวงจรการลงทุน การประเมินมูลค่ากิจการที่เข้าลงทุนจะเป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรมที่มีอยู่ ในขณะที่มาตรฐานดังกล่าวมุ่งที่จะให้ข้อมูลที่แท้จริงเป็นธรรมของมูลค่ากิจการที่เข้าลงทุน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง แต่มูลค่าตลาดที่แท้จริงของการลงทุนประเภท Private Equity จะเกิดขึ้นเมื่อมีการถอนหรือจำหน่ายการลงทุนนั้น
13. PE ทรัสต์ อาจมีการคืนเงินลงทุนที่ได้รับชำระแล้วแก่ผู้ลงทุน หากเงินลงทุนดังกล่าวมิได้ถูกนำไปใช้ลงทุนหรือเงินลงทุนที่ได้รับชำระมามีมูลค่าเกินกว่าความจำเป็นด้วยสาเหตุใดก็ตาม โดยจะคืนเงินลงทุน บวกด้วยดอกเบี้ยที่อัตราเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารกรุงศรี ในช่วงเวลาที่มีการคืนเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดที่เกิดขึ้น หักด้วยค่าใชจ่ายทรัสต์ ภายในระยะเวลาเข้าลงทุน (Commitment period) การคืนเงินลงทุนนี้ อาจส่งผลให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าที่คาดหวังไว้
14. PE ทรัสต์ มีการตั้งเงินสำรองเพื่อการบริหารจัดการ เพื่อการลงทุนเพิ่มเติม เพื่อชำระค่าใช้จ่ายหรือภาระผูกพันต่างๆ หรือเพื่อวัตถุประสงค์โดยชอบอื่นใด และกองทุน KFFVPE-UI มีการตั้งเงินสำรองเพื่อชำระค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายหรือภาระผูกพันต่างๆ การตั้งสำรองเหล่านี้ จะส่งผลกระทบต่อจำนวนเงินลงทุนและกระแสเงินสดที่ผู้ลงทุนจะทยอยได้รับระหว่างอายุกองทุน อาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าการไม่มีการตั้งเงินสำรอง
15. PE ทรัสต์อาจนำเงินที่พึงจัดสรรคืนให้แก่กองทุนไปลงทุนต่อ (Reinvestment) หรือชำระค่าใช้จ่ายของ PE ทรัสต์ หรืออาจใช้เพื่อวัตถุประสงค์โดยชอบอื่นใด ดังนั้น กองทุนอาจมิได้รับชำระคืนเงินต้นและผลตอบแทนในระยะเวลาและอัตราตามที่คาดหวัง
16. PE ทรัสต์อาจจัดสรรคืนเงินลงทุนและผลตอบแทนด้วยหลักทรัพย์อื่นที่มิใช่เงินแก่กองทุน เว้นแต่กองทุนได้ยื่นความประสงค์ต่อผู้จัดการทรัสต์ถึงการรับคืนเงินลงทุนและผลตอบแทนเป็นเงินเท่านั้น โดยผู้จัดการทรัสต์จะใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถในการขายหลักทรัพย์ในราคาที่สมเหตุสมผลเพื่อคืนเงินให้แก่ผู้ลงทุน และการขายนั้นจะต้องกระทำด้วยราคาตลาดที่ยุติธรรม ในกรณีที่ขายแก่บุคคลที่สาม ผู้จัดการทรัสต์จะใช้ความพยายายอย่างเต็มที่ในการขายเพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุดในขณะนั้น แต่ก็มิอาจรับประกันได้ว่าราคาที่ขายได้ จะเป็นราคาที่ดีที่สุด นอกจากนั้น ผู้ลงทุนจะต้องชำระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการขายหลักทรัพย์นั้น
17. โอกาสการเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • กองทุนนี้มีนโยบายลงทุนในหน่วย private equity ของ ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท อิควิตี้ ทรัสต์ I ที่มีบริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด เป็นผู้จัดการทรัสต์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือกลุ่มธนาคารกรุงศรี อยุธยา จำกัด (มหาชน) เช่นเดียวกันกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนของกองทุนนี้
  • บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ในฐานะผู้จัดการทรัสต์ ของ ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท อิควิตี้ ทรัสต์ I อาจมีการลงทุนในกิจการ Startup หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด เช่นเดียวกันกับที่บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ในฐานะผู้จัดการทรัสต์จะลงทุนในกิจการStartup หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น เพื่อ ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท อิควิตี้ ทรัสต์ I
  • บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ในฐานะผู้จัดการทรัสต์ อาจมีการลงทุนหรือทำสัญญาหรือเข้าทำธุรกรรมเพื่อ ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท อิควิตี้ ทรัสต์ I ในกิจการเป้าหมาย หรือกิจการ Startup ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับผู้จัดการทรัสต์ หรือบริษัทในเครือกลุ่มธนาคารกรุงศรี อยุธยา จำกัด (มหาชน) 
  • บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด (ผู้จัดการทรัสต์) อาจมีการลงทุนในกิจการเป้าหมาย หรือกิจการ Startup อยู่ก่อนวันปิดรับการลงทุน (Warehoused Investments) ซึ่งการลงทุนนั้นอาจมีลักษณะที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลยุทธ์การลงทุนของ ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท อิควิตี้ ทรัสต์ I (“PE ทรัสต์”) และผู้จัดการทรัสต์อาจโอนการลงทุนดังกล่าวนั้นมายัง PE ทรัสต์ก่อนหรือภายหลังวันปิดรับการลงทุน (Closing) และถือว่า Warehoused Investments ที่โอนมานี้ถือเป็นเงินลงทุนที่ได้รับชำระแล้วในส่วนของผู้จัดการทรัสต์ มูลค่าของ Warehoused Investments ที่โอนมาจะเท่ากับราคายุติธรรมของ Warehoused Investment บวกด้วยยอดเงินส่วนเพิ่มที่กำหนดโดยผู้จัดการทรัสต์ ซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเข้าซื้อ ถือครอง และการโอนส่วน Warehoused Investment นี้ตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมในลักษณะเดียวกันจะพึงกระทำ
  • ผู้จัดการทรัสต์อาจจัดให้มีการลงทุนร่วมในกิจการเป้าหมายเดียวกับ PE ทรัสต์ แก่ผู้ลงทุนรายอื่นใดหรือบุคคลที่สาม (Co-investment) โดยการลงทุนร่วมนี้อาจกระทำการเข้าลงทุนหรือถอนการลงทุนในเวลาเดียวกัน รูปแบบหรือวิธีเดียวกันกับ PE ทรัสต์ ผู้ลงทุนร่วม (Co-investor) จะถูกจัดสรรยอดลงทุน ค่าใช้จ่าย ภาระผูกพันต่างๆ ตามสัดส่วนที่เข้าลงทุน 
  • เมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อน อันได้แก่ 1) เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเข้าลงทุน หรือ 2) เมื่อเงินที่ระดมทุนในสัดส่วนร้อยละ 80 ได้ถูกนำไปลงทุน หรือถูกเรียกชำระเงินลงทุน หรือถูกสำรองไว้สำหรับลงทุน ซึ่งรวมถึงการลงทุนสืบเนื่องหรือสำหรับชำระค่าใช้จ่ายกองทรัสต์ หรือ 3) เมื่อสัดส่วน      ร้อยละ 60 ของเงินลงทุนทั้งหมดได้ถูกนำไปลงทุน หรือ 4) เมื่อกองทรัสต์ได้สิ้นสุดลง ผู้จัดการ ทรัสต์อาจรับค่าธรรมเนียมจากการบริหารจัดการหรือให้คำปรึกษาในรูปแบบการลงทุนอื่นใดหรือบัญชีใด นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมจัดการจากการเป็นผู้จัดการทรัสต์ของ PE ทรัสต์ ซึ่งอาจมีวัตถุประสงค์การลงทุนที่ทับซ้อนอย่างมีนัยยะสำคัญ
  • PE ทรัสต์ได้มีการมอบหมายให้บริษัทในเครือที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ประเมินมูลค่ากิจการเป้าหมายหรือทรัพย์สินที่ PE ทรัสต์ลงทุน 
  • ผู้ให้บริการ นายหน้า นายหน้าค้าหลักทรัพย์ ตัวแทนหรือผู้ได้รับการแต่งตั้งในการให้บริการใดๆ รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องของผู้ให้บริการเหล่านั้น (แต่ละราย เรียกว่า “ผู้มีส่วนได้เสีย”) อาจเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการลงทุนหรือกิจกรรมต่างๆของ PE ทรัสต์ หรือของกองทุน 
การกระทำดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ซึ่งผู้ลงทุนของกองทุนรับทราบและ    ตกลงยินยอมในการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ดังกล่าว และกองทุนไม่สามารถรับรองว่าผลตอบแทนจากการลงทุนของ ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท อิควิตี้ ทรัสต์ I จะคล้ายหรือเหมือนกับผลตอบแทนของการลงทุนอื่นใดที่ผู้จัดการทรัสต์เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด หรือทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทรัสต์ หรือให้คำแนะนำ หรือเป็นที่ปรึกษา หรือให้บริการอื่นใด
  • บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด (KFIN) และ ธนาคารกรุงศรี อยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY) เป็น นิติบุคคลแยกจากกัน KFIN มีความเป็นอิสระในการดำเนินงานและการตัดสินใจทางธุรกิจ ในกรณีที่ KFIN มีการลงทุนในบริษัทเป้าหมายที่ไปร่วมลงทุน เป็นลูกหนี้ของ BAY หรือมีความเกี่ยวข้องทั้งทางตรงหรือทางอ้อม KFIN ในฐานะผู้จัดการทรัสต์ จะพิจารณาตัดสินใจลงทุนโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสำคัญ และจะพิจารณาให้สอดคล้องกับนโยบายและวัตถุประสงค์   การลงทุนของ PE ทรัสต์ มีราคาที่เหมาะสมสอดคล้องกับราคาตลาด รวมถึงการทำธุรกรรมดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ที่ดีที่สุดต่อ PE ทรัสต์ ในสถานการณ์ขณะนั้น
  • กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทจัดการ อาจมีการลงทุนในกองทุน KFFVPE-UI โดยบริษัทจัดการจะมีการควบคุมดูแลการลงทุนของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานให้เป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของพนักงาน (staff dealing rule) นอกจากนี้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของผู้จัดการทรัสต์ อาจมีการลงทุนในกอง KFFVPE-UI โดยผู้จัดการการทรัสต์ จะคำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้าหรือผู้ลงทุนเป็นสำคัญ (putting investors first)
ในกรณีที่จะมีการทำธุรกรรมที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ผู้จัดการทรัสต์และ/หรือบริษัทจัดการจะคำนึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ลงทุน หรือจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าในสถานการณ์ขณะนั้น และเป็นการทำธุรกรรมในลักษณะที่เป็นธรรมเนียมทางการค้าปกติเสมือนเป็นการทำธุรกรรมกับบุคคลทั่วไปที่มิได้มีความเกี่ยวข้องกันเป็นพิเศษ (at arm’s length transactions) โดยการทำธุรกรรมดังกล่าวจะปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมหรือเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในลักษณะเดียวกันจะพึงกระทำ
ทั้งนี้ บริษัทจัดการมีการกำหนดนโยบาย ระบบงานและมาตรการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ และมีการควบคุมดูแลให้กรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรของบริษัทจัดการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบาย/ระบบงาน/มาตรการ ดังกล่าวอย่างเคร่งครัด
18. ด้วยข้อจำกัด เงื่อนไข หรือสาเหตุอื่นใดทางภาษี ทางกฎหมายหรือกฏเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง อาจทำให้ผู้จัดการทรัสต์หรือกิจการที่เกี่ยวข้อง มีการจัดตั้งการลงทุนคู่ขนาน (Parallel Vehicle) ด้วยรูปแบบใดๆ ให้แก่ผู้ลงทุนรายใด หรือมีการจัดตั้งวิธีการ โครงสร้าง ลักษณะการเข้าลงทุนด้วยทางเลือกอื่น (Alternative Vehicle) นอกเหนือจาก PE ทรัสต์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเข้าลงทุนในกิจการเป้าหมายเดียวกับ PE ทรัสต์ การลงทุนผ่านวิธีการลงทุนแบบคู่ขนาน (Parallel Vehicle) หรือการลงทุนผ่านวิธีการลงทุนแบบทางเลือกอื่นใด (Alternative Vehicle) นี้ จะถูกควบคุม บริหารจัดการโดยผู้จัดการทรัสต์หรือกิจการที่เกี่ยวข้อง และเป็นไปตามเอกสารการจัดตั้งที่มีใจความหลักสอดคล้องกับทรัสต์และสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ผู้จัดการทรัสต์จะจัดสรรผลตอบแทน รายได้ รวมถึงค่าใช้จ่าย ภาระผูกพันต่างๆที่เกิดขึ้นจากการลงทุนของ PE ทรัสต์และการลงทุนคู่ขนาน (Parallel Vehicle) และการเข้าลงทุนด้วยทางเลือกอื่น (Alternative Vehicle) ตามสัดส่วนการเข้าลงทุน และเป็นไปตามดุลยพินิจของผู้จัดการทรัสต์ ทั้งนี้ กองทุนไม่สามารถรับรองว่าผลตอบแทนจากการลงทุนของ ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท อิควิตี้ ทรัสต์ I จะคล้ายหรือเหมือนกับผลตอบแทนของการลงทุนแบบคู่ขนานหรือทางเลือกอื่น หรือจะมีการจัดสรรการลงทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้อย่างเท่าเทียม
19. สัญญาก่อตั้งทรัสต์อาจมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อกองทุนและผู้ถือหน่วยได้
20. บลจ. กรุงศรีในฐานะผู้จัดการกองทุน KFFVPE-UI ไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ PE ทรัสต์ โดยการพิจารณาเข้าลงทุน หรือถอนการลงทุน การบริหารจัดการในทรัพย์สินใดๆ รวมทั้งการเลิก PE ทรัสต์ จะเป็นไปตามดุลยพินิจของผู้จัดการทรัสต์ ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในการลงทุน Private Equity ทั้งนี้ ผู้ลงทุนรับทราบว่า PE ทรัสต์ ไม่รับรองว่าการใช้วิจารณญาณของผู้จัดการทรัสต์ จะส่งผลให้การลงทุนของ PE ทรัสต์ สามารถสร้างผลกำไรได้

คำเตือน
  • กองทุนอาจลงทุนในตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) และ/หรือที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated) และ/หรือหลักทรัพย์ที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Unlisted Securities) ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย
  • กองทุนอาจทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทจัดการ ซึ่งอาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมฯ โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และในกรณีที่ไม่ได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงฯ ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • กองทุนอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน และอาจลงทุนในตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง จึงมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมที่ลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงโดยตรง เนื่องจากใช้เงินลงทุนในจำนวนที่น้อยกว่าจึงมีกำไร/ขาดทุนสูงกว่าการลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงโดยตรง
  • เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูล
  • ผู้ลงทุนควรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้ขาย หรือศึกษารายละเอียดจากเอกสารประกอบการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึง    ผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนนี้เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน ผู้ลงทุนควร ขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน 
สามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ 
บลจ.กรุงศรี จำกัด โทร. 02-657-5757 หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา

ย้อนกลับ

@ccess Mobile Application

ทำรายการกองทุนสะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว