Flash Update


สรุปมุมมอง Global & Asia Fund Manager Survey ประจำเดือนมีนาคม 2567

20/03/2567


สรุปมุมมอง Global Fund Manager Survey 


มุมมองเศรษฐกิจมหภาค นโยบายการเงิน และตลาดหุ้น:
  • Global Fund Manager มีความคาดหวังต่อการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกสูงสุดในรอบ 2 ปีเนื่องจากความเสี่ยง Recession หายไป
  • Global Fund Manager ยังคงมองว่าเศรษฐกิจโลกจะแข็งแกร่งและไม่เกิด Recession 62% คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเกิด Soft Landing ขณะที่ความน่าจะเป็นที่จะเกิด Hard Landing อยู่ที่ 11% เท่ากับเดือนก่อนหน้า และคาดว่าจะเกิด No Landing 23% เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. 2566 ที่ 5%
  • Global Fund Manager คาดว่ากำไรของบริษัทเอกชนทั่วโลกจะดีขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ม.ค. 2565 ที่มองว่ากำไรจะดีขึ้น ไม่ใช่แย่ลง
  • 40% คาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวจะลดลง เทียบกับเดือน ธ.ค. 2565 คาดไว้ที่ 62% และต่ำที่สุดในรอบ 1 ปี ซึ่งตลาดอาจจะ price-in ข่าวการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว
  • มีการสำรวจถึงความคิดเห็นต่อหุ้น AI ว่าเป็นฟองสบู่หรือไม่ 45% มองว่าหุ้น AI ไม่ใช่ฟองสบู่ ขณะที่ 40% มองว่าหุ้น AI เป็นฟองสบู่
มุมมองด้านความเสี่ยง:
  • 32% กังวลถึงความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.พ. ที่ 27%
  • 21% กังวลถึงความตึงเครียดด้านความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ แต่ลดลงจากเดือน ก.พ. ที่ 24%
  • 16% กังวลถึงภาวะเศรษฐกิจ Hard Landing 14% กังวลถึงการเลือกตั้งในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ความกังวลเรื่องความสามารถในการชําระหนี้ของทั้งระบบลดลงจากเดือนก่อนหน้า
มุมมองการเก็งกำไรมากที่สุด 3 อันดับแรก (Most crowded trade):
  • Long หุ้น Magnificent Seven 58% แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 61%, short หุ้นจีน 14% แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 25% และ long หุ้นญี่ปุ่น 13% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 4%
มุมมอง Asset Allocation:
  • ในเดือน มี.ค. มีการ rotate หุ้นออกจากสหรัฐฯ กลุ่ม Discretionary หุ้นเทคโนโลยี กลุ่ม Utilities ไปยังยุโรป Emerging Market กลุ่มธนาคาร และ Health Care
  • เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย 20 ปี ในเดือน มี.ค. มีการ overweight กลุ่ม Health Care หุ้นโลก    หุ้นเทคโนโลยี ญี่ปุ่น และ underweight อังกฤษ กลุ่ม Utilities REITs และ Materials

สรุปมุมมอง Asia Fund Manager Survey
  • มุมมองต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกยังคงดูแข็งแกร่งเหมือนเดือน ก.พ. ซึ่งส่งผลดีต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นโดยรวม
  • 87% คาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจใน Asia Pacific ex-Japan จะแข็งแกร่งขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า ได้แรงหนุนจากการเติบโตของกำไรของบริษัท โดย 46% คาดว่าจะมี upside สำหรับตลาดหุ้น Asia Pacific ex-Japan ราว 5%-10% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 40%
  • บรรยากาศการลงทุนของตลาดหุ้น Asia Pacific ex-Japan ยังคงคล้ายกับเดือน ก.พ.; ญี่ปุ่นถูก overweight มากที่สุด 46% ตามด้วยอินเดีย 31% และไต้หวัน 13% ขณะที่จีนยังคงถูก underweight มากที่สุด 18% แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ underweight 23% ตามด้วยการ underweight ออสเตรเลีย 15% มาเลเซีย 13% ไทยและสิงคโปร์ ประเทศละ 8%
  • สำหรับ Sector ในตลาดหุ้น Asia Pacific ex-Japan กลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ และฮาร์ดแวร์ ยังคงถูก overweight มากที่สุด 44% และ 31% ส่วนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ก็ยังถูก underweight มากที่สุด 18% ตามด้วยกลุ่ม Media & Entertainment และ Financial Services กลุ่มละ 15%
  • สำหรับมุมมองต่ออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในเกาหลีและไต้หวัน 59% คาดว่ากลุ่มเซมิคอนดักเตอร์จะแข็งแกร่งขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 69%
  • สำหรับญี่ปุ่น 67% คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะแข็งแกร่งขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า แต่ความไม่แน่นอนของความเร็วในการปรับขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ 33% คาดว่าผลตอบแทนของตลาดหุ้นญี่ปุ่นจะไม่เกิน 5% ซึ่งมี upside ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 35% มองว่าผลตอบแทนจะสูงถึง 5% - 10% ทั้งนี้ 59% คาดว่าญี่ปุ่นจะประกาศสิ้นสุดภาวะเงินฝืดภายในเดือน มิ.ย. นี้
  • สำหรับเกาหลีใต้ที่จะมีการเตรียมทำ Corporate Value-Up Program หรือแผนเพิ่มมูลค่าให้บริษัทจดทะเบียนผ่านมาตรการจูงใจต่างๆ ซึ่ง 56% คาดว่าจะมีผลกระทบเชิงบวกในระดับ ปานกลาง แต่ยังไม่สามารถกระตุ้นตลาดหุ้นได้
  • ในส่วนของจีน 26% คาดว่าชาวจีนจะมีการใช้จ่ายและลงทุนมากกว่าเก็บออม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 10% อย่างไรก็ตาม 28% ยังคงรอสัญญาณการฟื้นตัวของตลาดหุ้นจีนก่อนที่จะเพิ่มการลงทุน
ที่มา: BofA Global Research 19 มี.ค. 2567 | อัปเดต ณ 20 มี.ค. 2567

ข้อมูลกองทุนกรุงศรีที่ลงทุนในต่างประเทศ คลิก

หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอดูหนังสือชี้ชวน โปรดติดต่อ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรีจำกัด โทร 0 2657 5757 หรืออีเมล krungsriasset.clientservice@krungsri.com
เอกสารประกอบเปิดด้วยโปรแกรม Acrobat Reader หากท่านไม่มีโปรแกรมดังกล่าว คลิกเพื่อ ดาวน์โหลด โปรแกรม (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ย้อนกลับ

ลงทุนในกองทุนรวมบลจ.กรุงศรี

บลจ.กรุงศรีมีกองทุนรวมหลายประเภทให้เลือกลงทุนสำหรับทุกเป้าหมายการลงทุน