สรุปภาวะตลาดรายวัน


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด
21/09/2566

ปัจจัยสำคัญ 

  • ตลาดหุ้นสหรัฐปิดลบหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยตามคาดในการประชุมครั้งล่าสุด แต่ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในปีนี้ เนื่องจากเฟดยังไม่เสร็จสิ้นภารกิจการต่อสู้กับเงินเฟ้อ
  • คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.25 - 5.50% ในการประชุมเมื่อวานนี้ (20 ก.ย.) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี โดยการคงอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้
  • คณะกรรมการ FOMC ยังได้เปิดเผยรายงานสรุปการคาดการณ์เศรษฐกิจ (Summary Economic Projections - SEP) และการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) โดยระบุว่าเจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% สู่กรอบ 5.50% - 5.75% ภายในสิ้นปีนี้ และส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งสู่ระดับ 5.1% ภายในช่วงสิ้นปี 2567 และแตะ 3.9% ภายในช่วงสิ้นปี 2568
  • เฟดปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐสู่ระดับ 2.1% ในปีนี้ จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 1.0% และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงสู่ระดับ 3.3% ภายในสิ้นปีนี้ แตะระดับ 2.5% ภายในสิ้นปี 2567 และแตะระดับ 2.2% ภายในสิ้นปี 2568 โดยเฟดคาดว่าเงินเฟ้อจะกลับสู่เป้าหมายที่ระดับ 2% ในปี 2569 ซึ่งช้ากว่าที่เจ้าหน้าที่เฟดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
  • นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดได้ส่งสัญญาณในระหว่างแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า การที่เงินเฟ้อของสหรัฐจะกลับสู่เป้าหมายของเฟดนั้น ยังต้องใช้เวลาอีกนาน
  • ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในยุโรปปรับตัวลง ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการประชุมเฟด ซึ่งประกาศหลังตลาดหุ้นยุโรปปิดทำการ
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษลดลง และปอนด์อ่อนค่าหลังการเปิดเผยข้อมูลบ่งชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อที่ระดับสูงของอังกฤษชะลอลงเกินคาดในเดือน ส.ค. ซึ่งเพิ่มแนวโน้มที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในวันพฤหัสบดีนี้ (21 ก.ย.)
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหราชอาณาจักรชะลอลงสู่เพิ่มขึ้น 6.7% จากช่วงเดียวกันปีก่อนในเดือน ส.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 6.8% ในเดือน ก.ค. และต่ำกว่าที่ตลาดคาดว่าอาจเพิ่มขึ้น 7.0% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอลงสู่เพิ่มขึ้น 6.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อนในเดือน ส.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 6.9% ในเดือน ก.ค.
  • ยอดส่งออกของญี่ปุ่นลดลง 0.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อนในเดือน ส.ค. โดยเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน และเทียบกับที่ตลาดคาดว่าอาจลดลง 1.7% หลังจากลดลง 0.3% ในเดือน ก.ค. ส่วนยอดนำเข้าร่วงลง 17.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อนในเดือนก่อนหน้า หลังจากลดลง 13.6% ในเดือนก่อนหน้า และเทียบกับที่ตลาดคาดว่าอาจลดลง 19.4% ส่งผลให้ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นสู่ 9.31 แสนล้านเยน จากขาดดุล 6.63 หมื่นล้านเยนในเดือน ก.ค.
  • ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนปิดลบ โดยตลาดถูกกดดันจากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติและความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจจีน
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปี ที่ระดับ 3.45% และคงอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีไว้ที่ระดับ 4.20% ตามคาด
  • ตลาดหุ้นไทยวานนี้ (20 ก.ย.) ซื้อขายในแดนลบตลอดทั้งวัน ปิดปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก ทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในภูมิภาค เนื่องจากนักลงทุนรอดูผลการประชุมเฟด

มุมมองการลงทุนจาก บลจ.กรุงศรี

จากการที่เฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยซึ่งเป็นไปตามที่คาดการณ์นั้น ควรจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้น แต่การที่ตลาดหุ้นตอบรับด้วยการปิดตัวลดลงเกิดจากที่เฟดเองส่งสัญญาณว่าพร้อมขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งอยู่เหนือที่ตลาดคาดการณ์ อีกทั้งตัวแปรสำคัญอย่างเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มที่จะลดลงช้ากว่าที่คาด ซึ่งปัจจัยดังกล่าวอาจจะส่งผลให้ตลาดหุ้นเกิดความผันผวน

สรุปภาพรวมตลาด

  • ต่างประเทศ
    • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,440.88 จุด ลดลง 76.85 จุด หรือ -0.22%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,402.20 จุด ลดลง 41.75 จุด หรือ -0.94% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,469.13 จุด ลดลง 209.06 จุด หรือ -1.53%
    • ดัชนี STOXX 600 ปิดตลาดที่ระดับ 460.66 จุด เพิ่มขึ้น 4.14 จุด หรือ +0.91%
    • ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดที่ 3,108.57 จุด ลดลง 16.39 จุด หรือ -0.52%
    • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ต.ค. ลดลง 92 เซนต์ หรือ 1.0% ปิดที่ 90.28 ดอลลาร์/บาร์เรล
    • สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้น 13.40 ดอลลาร์ หรือ 0.69% ปิดที่ 1,967.10 ดอลลาร์/ออนซ์
  • ในประเทศ
    • SET ปิดที่ 1,507.90 ลบ 15.06 จุด (-0.99%)  Trading Volume: 54,490.73 ล้านบาท – มูลค่าการซื้อขายปานกลาง โดยตลาดหุ้นไทยมีการซื้อขายมากที่สุดในหุ้นกลุ่มพลังงาน (-1.57%) ตามด้วยกลุ่มพาณิชย์ (-1.58%) กลุ่มธนาคาร (+0.21%) และกลุ่มการแพทย์ (-0.13%)  นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,253.45 ล้านบาท
    • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปิดปรับขึ้น 1-6 bps แบ่งตามช่วงอายุ ดังนี้
      • อายุ 1-5 ปี ปิดปรับขึ้น 1 bp
      • อายุ >5-10 ปี ปิดปรับขึ้น 1-4 bps
      • อายุ >10 ปีขึ้นไป ปิดปรับขึ้น 1-8 bps
      • IRS SWAP ปิดปรับลดลง 1-3 bps
    • นักลงทุนในประเทศขายสุทธิ 154.86 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1,902.52 ล้านบาท
ที่มา: Bloomberg, Econaday, KSS, Ryt9
 
กองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นคุณภาพสูงทั่วโลก  
คลิก: KFGBRAND-A | KFGBRAND-D | KFGBRANSSF | KFGBRANRMF 
ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | สำหรับกองทุน SSF/RMF/LTF/Thai ESG ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน|สำหรับกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศจะมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคมของประเทศที่กองทุนไปลงทุนได้ | เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือและความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

ย้อนกลับ


ลงทุนในกองทุนรวมบลจ.กรุงศรี

บลจ.กรุงศรีมีกองทุนรวมหลายประเภทให้เลือกลงทุนสำหรับทุกเป้าหมายการลงทุน