ตัดสินใจลงทุนในกองทุน LTF / RMF ใหม่ เสี่ยงไปหรือเปล่า?



เมื่อสิ้นปีกำลังใกล้เข้ามา นักลงทุนมากมายอาจจะกำลังมองหากองทุนดีๆ สำหรับลงทุน และในช่วงนี้เองที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ต่างทยอยเปิดตัวกองทุน LTF / RMF ที่จัดตั้งใหม่ออกมาสู่ตลาด จนหลายคนเกิดความสงสัย หันไปทางไหนก็มีแต่กองทุนเต็มไปหมดทั้งกองทุนเดิมและกองทุนใหม่ จะตัดสินใจเลือกอย่างไรดี? โดยเฉพาะกองทุนใหม่จะเสี่ยงเกินไปไหมถ้าตัดสินใจลงทุน?

บทความนี้เราจะมาเคลียร์ข้อสงสัยกันว่าตกลงแล้วกองทุนใหม่น่าลงทุนหรือไม่
พร้อมคำแนะนำในการเลือก 

กองทุนใหม่...ดีหรือไม่?

สิ่งที่ดึงดูดใจให้หลายคนสนใจกองทุนใหม่ คือราคาเริ่มต้นที่ 10 บาทในช่วงเสนอขายครั้งแรก (IPO) และเป็นราคาต่ำกว่ากองทุนที่เปิดมาแล้วหลายปี ซึ่งมีกำไรสะสมจนราคาหน่วยลงทุน (NAV) สูงขึ้นไปกว่านั้น นอกจากกองทุนใหม่มีราคาถูกดีต่อใจแล้ว ยังจำกำไร-ขาดทุนได้ง่ายเมื่อเวลาผ่านไปอีกด้วย 

อันที่จริงการจะตัดสินใจซื้อกองทุนสิ่งที่ควรใช้พิจารณามากกว่าราคาคือข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน ทั้งนโยบายการลงทุนของกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานย้อนหลัง ซึ่งแน่นอนว่าหากกองทุนมีผลการดำเนินงานย้อนหลังในระยะยาวดีอย่างต่อเนื่องก็จะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้ 

ปัญหาที่ทำให้นักลงทุนต่างลังเลที่จะลงทุนในกองทุนใหม่ คือ ไม่มีข้อมูลผลการดำเนินงานย้อนหลังให้ดูได้ จุดนี้จึงทำให้เกิดคำถามว่าควรจะรอดูผลงานไปก่อนแล้วค่อยตัดสินใจดีกว่าเสี่ยงลงทุนไปตั้งแต่ช่วง IPO หรือไม่
 

คำแนะนำที่ควรรู้ก่อนลงทุนในกองทุน LTF / RMF ใหม่ 

ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อกองทุน อันดับแรกคุณตั้งโจทย์ไว้ในใจแล้วหรือยังว่าต้องการอะไรจากการลงทุน? ไม่อย่างนั้นก็จะขาดตัววัดว่าคุณทำได้ตามเป้าหมายหรือไม่ เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยงไม่ว่ากองทุนจะดูดีแค่ไหน และไม่ว่าคุณจะมีประสบการณ์หรือไม่ก็ตาม อย่าลืมกำหนดความเสี่ยงที่คุณสามารถรับได้ ผลตอบแทนที่ต้องการ เพื่อหาสินทรัพย์ที่เหมาะจะลงทุน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน 

1. ศึกษาแนวคิด แนวทางการลงทุน และหนังสือชี้ชวน

คำแนะนำแรกคือคุณควรทำความเข้าใจกับแนวคิด แนวทางของกองทุน นี่เป็นรากฐานสำคัญที่ส่งผลต่อผลตอบแทนในอนาคตอย่างมาก  กองทุนที่มีผลตอบแทนดีมักจะมีเบื้องหลังมาจากวิธีคิด วิธีการบริหารของทีมผู้จัดการของทุน และนโยบายการเลือกลงทุนของกองทุนนั้น ซึ่งสามารถศึกษาข้อมูลกองทุนได้จากหนังสือชี้ชวนเพื่อที่จะเข้าใจแนวคิดและนโยบายการเลือกลงทุนของกองทุน โดยข้อมูลที่คุณควรพิจารณามีดังนี้ 
 

กองทุนลงทุนกับอะไรบ้าง?

สิ่งสำคัญที่คุณควรดูเพื่อจะได้ทราบแนวทางคือ กองทุนลงทุนในสินทรัพย์ใดบ้าง ถ้าลงทุนในหุ้น ก็ต้องมาดูต่อว่าหุ้นกลุ่มไหน หุ้นไทย หรือหุ้นประเทศไหน นอกเหนือจากหุ้นแล้วมีตราสารหนี้อย่างพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้บริษัทเอกชนด้วยหรือไม่ สินทรัพย์เหล่านี้มีความเสี่ยงและโอกาสให้ผลตอบแทนมาก-น้อยแค่ไหน มีแนวโน้มเป็นอย่างไรในอนาคต?
 
ตัวอย่าง RMF ที่เน้นลงทุนหุ้นเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมอย่าง Healthcare หรือด้านเทคโนโลยี เราควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อดูแนวโน้มการเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ในอนาคต เมื่อพิจารณาจากเทรนโลกที่กำลังเข้าสู่ Aging Society ประชากรสูงวัยมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมากขึ้น จึงมีความเป็นไปได้ที่บริษัทยาและบริการทางการแพทย์จะมีกำไรเติบโตเพิ่มขึ้น
 
หรือบริษัทด้านเทคโนโลยีที่ออกนวัตกรรมใหม่ๆ และมีผู้ใช้งานจำนวนมหาศาลทั่วโลก เช่น AI, Big Data, Cloud Technology ก็มีแนวโน้มที่จะเติบโตสูงเช่นกัน ซึ่งทาง บลจ.มักจะมีข้อมูลวิเคราะห์อุตสาหกรรมนั้นๆ  เพิ่มเติมให้ผู้สนใจได้อ่านประกอบการตัดสินใจ 

นอกจากนี้ ควรดูด้วยว่ากองทุนมีนโยบายการลงทุนอย่างไร? และศึกษาจากนโยบายการลงทุนเทียบกับกองทุนอื่นๆ ของ บลจ.นั้น แม้จะเป็นกองทุนใหม่ แต่อาจจะมีความคล้ายคลึงกับกองทุนอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว เราจึงสามารถใช้เปรียบเทียบข้อมูลการลงทุนได้
 

เรามีตัวอย่างกองทุนใหม่ของกรุงศรีมาแนะนำคือ KFGOODRMF

กองทุน KFGOODRMF หรือ กองทุนเปิดกรุงศรีชีวิตดีเว่อร์เพื่อการเลี้ยงชีพ มีจุดเด่นคือสามารถลงทุนได้หลากหลายสินทรัพย์จบในกองทุนเดียว โดยลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศขั้นต่ำ 50% เพื่อโอกาสได้รับผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ ส่วนที่เหลือจะลงทุนในหุ้น, Property fund, REITS และ Infrastructure fund เพื่อให้เงินลงทุนมีโอกาสเติบโตเร็วขึ้น 

กองทุนนี้มีนโยบายการลงทุนเหมือน KFGOOD ที่เป็นกองทุนเปิด ซึ่งจัดตั้งมาก่อนตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมา เราสามารถดูผลการดำเนินงานของกองทุนนี้เป็นแนวทางได้ กองทุนนี้จึงเหมาะกับผู้ที่อยากได้ผลตอบแทนรวมที่มากกว่าการลงทุนในตราสารหนี้อย่างเดียว แต่ก็ไม่อยากเสียงลงทุนหุ้นเต็มร้อยเช่นเดียวกับ KFGOOD
 

ความเป็นไปได้ของผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุน 


เนื่องจากกองทุนใหม่ไม่มีข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลัง แล้วเราจะคาดการณ์ผลตอบแทนในอนาคตได้อย่างไร? 

คุณสามารถดูแนวโน้มผลตอบแทนของกองทุนได้จากสินทรัพย์ที่กองทุนนั้นลงทุนด้วย เช่น ถ้าเป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นไทยทั่วไป อาจดูจากดัชนีผลตอบแทนรวม (SET TRI) ย้อนหลัง ก็พอจะเห็นกรอบของผลตอบแทนว่าประมาณกี่ % ต่อปี
 
อีกวิธีการหนึ่งคือดูผลตอบแทนของกองทุนเดิมที่มีนโยบายลงทุนเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันซึ่งบลจ.นั้นบริหารอยู่ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนในทิศทางเดียวกัน หรือจะเปรียบเทียบกับคู่แข่งในกองทุนประเภทเดียวกันเพิ่มเติมก็ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ากองทุนใหม่จะให้ผลตอบแทนเท่านั้นแน่ๆ เพราะขึ้นอยู่กับผลการบริหารกองทุนของทีมผู้จัดการกองทุนด้วย

เมื่อพูดถึงความเสี่ยง หลายคนน่าจะมีความคิดอยากกระจายความเสี่ยงตามสำนวน “อย่าเก็บไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว” (เพราะถ้าตะกร้าตก ไข่มีโอกาสแตกทั้งหมด) ด้วยการลงทุนในหลายกองทุนหาก “หลายกองทุน” หมายถึงจำนวนมากกว่าหนึ่งกองทุน แต่เป็นกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์เดียวกัน นโยบายคล้ายกันหมด ก็อาจไม่ช่วยกระจายความเสี่ยงนัก ควรจะเลือกกองทุนที่มีนโยบายลงทุนต่างกันมากกว่า อย่าง RMF จะมีหลากหลายกองทุนให้เลือก 

ตั้งแต่ RMF ที่ลงทุนในตราสารหนี้อย่างเดียว RMF ที่ลงทุนผสมทั้งตราสารหนี้และหุ้น RMF ลงทุนหุ้นไทย ไปจนถึง RMF ที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศ ถ้าใครมองว่าตัวเองซื้อ LTF ที่ลงทุนหุ้นไทยอยู่แล้ว พอจะเลือก RMF อาจลองดูกองทุนที่ลงทุนต่างประเทศไว้กระจายความเสี่ยงบ้างก็ได้ บลจ.กรุงศรีแนะนำ RMF กองทุนใหม่ที่ลงทุนในอินเดีย สำหรับคนที่มองหาโอกาสการลงทุนในตลาดที่มีการเติบโตสูง และรับความเสี่ยงสูงได้

กองทุนเปิดกรุงศรีอินเดียอิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFINDIARMF) น่าจับตามองด้วยสภาพเศรษฐกิจที่มีอัตราการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง สไตล์การลงทุนจึงเน้นที่ความยั่งยืน เหมาะกับนักลงทุนที่ให้ความสำคัญกับผลตอบแทนในระยะยาว บริษัทที่ผู้จัดการกองทุนให้ความสนใจลงทุนมีหลากหลายทั้งในภาคการเงิน ธนาคารชั้นนำ ไปจนถึงภาคอุตสาหกรรม เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าส่งออกด้าน IT สุขภาพ วิศวกรรม เป็นต้น 

เมื่อลงทุนในต่างประเทศ ผู้ลงทุนก็ควรติดตามข่าวสารสถานการณ์ในประเทศที่ไปลงทุนเพิ่มเติมด้วย ซึ่งบลจ.ที่บริหารกองทุนมักจะมีข้อมูลเหล่านี้อัปเดตให้อย่างต่อเนื่องอยู่แล้วด้วย 
 

2. ศึกษาเกี่ยวกับผู้จัดการกองทุน และผลงานการบริหารกองทุนอื่นๆ


เบื้องหลังของกองทุนที่ดีมีผลมาจาก ‘ทีมผู้จัดการกองทุน (Fund Manager)’ เนื่องจากเป็นผู้ที่เลือกสินทรัพย์มาอยู่ในกองทุน และตัดสินใจซื้อขายบริหารสินทรัพย์ให้เกิดผลตอบแทนที่ดี ซึ่งผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์บริหารกองทุนมานาน ก็น่าจะมีประสบการณ์ผ่านภาวะเศรษฐกิจทั้งช่วงขาขึ้น-ขาลงมามาก ทำให้ผู้ลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้น

กองทุนใหม่ๆ อาจจะถูกบริหารจัดการโดยทีมผู้จัดการกองทุนชุดเดิม โดยเราสามารถดูรายชื่อได้จากหนังสือชี้ชวนแล้วค้นหาดูผลงานการบริหารกองทุนเดิมที่มีอยู่ก่อนได้เช่นกัน

ตัวอย่าง กองทุนคู่แฝดจาก บลจ.กรุงศรี KFLTFDNM-D และ KFDNMRMF มีความน่าสนใจไม่ใช่แค่มาเป็นแพ็คคู่ประหยัดภาษี แต่ยังบริหารโดยทีมผู้จัดการกองทุนและใช้กลยุทธ์การลงทุนเดียวกับกองทุน KFDYNAMIC ซึ่งได้รับรางวัลกองทุนตราสารทุนยอดเยี่ยมจาก Morningstar Thailand Awards 2018  ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวไดนามิค - จ่ายเงินปันผล (KFLTFDNM-D) และ กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นไดนามิคเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFDNMRMF) เป็น 2 กองทุนที่เฟ้นหาหุ้นที่มีศักยภาพสูงประมาณ 20 หลักทรัพย์และกระจายการลงทุนในหุ้นทุกประเภททั้งหุ้นเติบโตสูง หุ้นขนาดใหญ่ กลาง-เล็ก หรือหุ้นปันผลสูง โดยมีเป้าหมายที่ผลตอบแทนรวมสูงกว่าดัชนีชี้วัด เหมาะกับผู้ที่คาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวคู่ไปกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี 

อ่านรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติม KFLTFDNM-D | KFDNMRMF


3. กองทุนนี้ตอบโจทย์เป้าหมายคุณหรือไม่?

 


ไม่มีกองทุนใดดีที่สุด...มีแต่กองทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายของคุณที่สุด


จากการวิเคราะห์ข้อมูลกองทุนน่าจะทำให้คุณมองเห็นแนวคิด แนวทางแต่ละกองทุนชัดเจนขึ้น ถามตัวเองว่าคุณชอบสไตล์กองทุนแบบไหน เช่น เน้นโอกาสผลตอบแทนสูง เพราะมีเวลาลงทุนได้นานและรับความเสี่ยงได้มาก หรือรับความเสี่ยงได้ปานกลาง ไม่อยากเห็นผลขาดทุนเยอะ หรือเน้นรักษาเงินต้น เหมาะกับกองทุนที่เสี่ยงต่ำ เป็นต้น แล้วจึงเลือกให้ตรงกับโจทย์ที่คุณต้องการ

ตัวอย่างสำหรับกลุ่มที่อยู่ในวัยใกล้เกษียณ ถ้าสนใจจะลงทุนใน RMF เพื่อการลดหย่อนภาษี และเก็บเงินไว้สำหรับวันเกษียณ น่าจะไม่เหมาะกับกองทุนหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง เพราะระยะเวลาลงทุนน้อย หุ้นมีความผันผวนสูง อาจให้ผลขาดทุนเมื่อเกษียณได้ ถ้าจะลงทุนเน้นรักษาเงินต้นแบบนี้ กองทุนที่เหมาะสมจึงควรเน้นลงทุนสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ-ปานกลาง อย่างตราสารหนี้ เช่น กองทุน KFAFIXRMF ของ บลจ.กรุงศรี  

กองทุนเปิดกรุงศรีแอคทีฟตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFAFIXRMF) เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ หลากหลายประเภท ได้แก่ ตราสารภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน ภาคเอกชน และอาจลงทุนตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สัดส่วนไม่เกิน 20% NAV จุดที่น่าสนใจคือสามารถลงทุนในตราสารต่างประเทศได้สูงถึง 79% ของมูลค่าทรัพย์สินกองทุน ทำให้มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่กว้างขึ้นกว่าการจำกัดการลงทุนอยู่แต่เฉพาะตราสารในไทย และกองทุนยังเน้นลงทุนในหุ้นกู้บริษัทเอกชนที่มีคุณภาพสูง มีอันดับความน่าเชื่อถือ A- ขึ้นไปด้วย ถือว่ามีความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ ย่อมลงทุนอุ่นใจได้มากกว่ากองทุนหุ้น นอกจากนี้กรุงศรียังมี KFAFIX ที่เป็นกองทุนเปิดมีนโยบายการลงทุนแบบเดียวกัน และมีข้อมูลผลการดำเนินงานย้อนหลังตั้งแต่เปิดจัดตั้งกองทุนเมื่อตุลาคม 2559 ให้ดูเป็นแนวทางด้วย


สรุป

ดูเผินๆ แล้วการลงทุนในกองทุนใหม่อาจจะมีความเสี่ยงกว่าเพราะคุณไม่สามารถดูผลการดำเนินงานย้อนหลังประกอบการตัดสินใจได้ แต่อย่างไรก็ตามคุณยังสามารถศึกษาจากปัจจัยอื่นๆ ควบคู่ได้ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางการลงทุน นโยบายการลงทุน ผู้จัดการกองทุน และการเทียบเคียงกับกองทุนที่มีกลยุทธ์การลงทุนเหมือนกัน เป็นต้น 

สิ่งสำคัญคือทำความเข้าใจแนวคิด แนวทางการลงทุนของแต่ละกองทุน แล้วพิจารณาว่าแนวทางกองทุนใดสามารถตอบโจทย์เป้าหมายการลงทุนของคุณได้ ด้วยข้อมูลเหล่านี้และการวิเคราะห์อย่างละเอียดก็เพียงพอแล้วให้คุณตัดสินใจได้ว่ากองทุน LTF / RMF ใหม่นี้น่าลงทุนหรือไม่โดยไม่จำเป็นต้องรอดูผลงานก่อน เพราะไม่แน่ว่านี่อาจจะเป็นกองทุนที่คุณตามหาอยู่ก็เป็นได้ 

ไม่ว่าคุณจะมีเป้าหมายการลงทุนอย่างไร จะดีกว่าไหมหากมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้ข้อมูล บลจ.กรุงศรี ให้คำแนะนำตลอดเส้นทางการลงทุนของคุณ

5 กองทุนใหม่ KFLTFDNM-D, KFDNMRMF, KFGOODRMF, KFAFIXRMF, KFINDIARMF เสนอขายครั้งแรก 12 -21 พฤศจิกายนนี้


ดูข้อมูล 5 กองทุน LTF | RMF ใหม่ คลิกที่นี่



สิทธิประโยชน์ทางภาษีและเงื่อนไข LTF
  • ลงทุนสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น และไม่เกิน 500,000 บาทต่อ
  • ต้องถือหน่วยลงทุนอย่างน้อย 7 ปีปฏิทิน
  • กรณีขายคืนก่อน 7 ปีปฎิทิน ผู้ลงทุนต้องชำระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับของเงินลงทุนที่ขายคืนไปรวมกับเงินได้พึงชำระภาษีตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร
  • การขายคืนจะดำเนินการโดยใช้หลักเกณฑ์ "เข้าก่อนออกก่อน (FIFO)"

สิทธิประโยชน์ทางภาษีและเงื่อนไข RMF
  • ลงทุนไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี และไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น และเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. และเบี้ยประกันแบบบำนาญแล้วไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
  • ลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ห้ามหยุดลงทุนติดต่อกันเกิน 1ปี โดยต้องถือหน่วยลงทุนจนถึงอายุ 55 ปี และลงทุนต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • กรณีผิดเงื่อนไขการลงทุนในกองทุน RMF ผู้ลงทุนต้องชำระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับมาในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีปฎิทิน (นับย้อนหลังตั้งแต่ปีก่อนปีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข) และต้องนำเงินผลประโยชน์ (Capital Gain) ที่ได้จากการขายคืนไปรวมกับเงินได้ เพื่อชำระภาษีตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร

ย้อนกลับ

@ccess Mobile Application

ทำรายการกองทุนสะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว