Flash Update


Flash Update 20 กันยายน 2564

20/09/2564

ผลกระทบจากข่าว Evergrande บริษัทอสังหาริมทรัพย์ใหญ่อันดับ 2 ของจีนต่อการลงทุนในจีน

สรุปประเด็นสำคัญ

  • Evergrande เป็นข่าวใหญ่แต่ยังคงเป็นข่าวเดิม คือเรื่องการขาดสภาพคล่องและอาจต้องเข้าสู่การปรับโครงสร้างหนี้
  • ปัญหาสภาพคล่องที่รุนแรงขึ้นเกิดจากการควบคุมหนี้ที่เข้มงวดขึ้นของจีน ไม่ได้เกิดจากภาพอุตสาหกรรมที่ไม่ดีทั้งระบบ ผลกระทบต่อภาพรวมจึงมีจำกัด
  • กองทุนของบลจ.กรุงศรี มีสัดส่วนการลงทุนใน Evergrande ที่ต่ำ
  • สำหรับทิศทางระยะสั้น ตลาดได้รับแรงกดดันจากข่าว นักลงทุนที่รับความผันผวนระยะสั้นสูงได้ สามารถถือการลงทุนต่อได้

Evergrande ข่าวใหญ่แต่ไม่ใช่ข่าวใหม่?
  • ประเด็นของ Evergrande กดดันตลาดมาโดยตลอดช่วง 3-4 เดือน โดยตลาดรับรู้ปัญหาความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ และการปรับลดอันดับเครดิต (Credit Rating Downgrade) โดย Evergrande มีความพยายามในการขายสินทรัพย์อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระยะสั้นให้ได้มากที่สุด
  • ล่าสุดมีข่าวที่สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนในวงกว้างช่วง 2-3 วันนี้ เนื่องจากบริษัทเริ่มหยุดการจ่ายดอกเบี้ยบางส่วน และอาจต้องเข้าสู่การปรับโครงสร้างหนี้

สิ่งสำคัญที่ต้องรู้คือมาตรการ “3 Red Lines”* เป็น Short-term pain, Long-term gain?
  • จีนออกนโยบาย “3 Red Lines” เพื่อควบคุมนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Property Developers) เพื่อให้ลดหนี้ และมีงบดุล (Balance Sheet) ที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีความแข็งแกร่งในอนาคต แต่สิ่งที่แลกมาคือบริษัทที่มีหนี้สูงอยู่แล้ว จะไม่สามารถหาสภาพคล่องในระยะสั้น และอาจจะต้องล้มละลายไปด้วย
*3 Red Lines policy คือ มาตรการควบคุมสถานภาพทางการเงิน 3 ข้อ โดยมุ่งเน้นให้บริษัทอสังหาริมทรัพย์ในจีนมีสถานะทางการเงินที่เข้มแข็ง
 
กรณีของ Evergrande ไม่ใช่ความเสี่ยงที่กระทบทั้งตลาด (Systemic Risk)
  • Evergrande ที่กำลังเผชิญปัญหาสภาพคล่องเกิดจากการที่มีหนี้อยู่ในระดับสูงมากอยู่แล้ว เมื่อมาเจอการควบคุมหนี้ที่เข้มงวดขึ้นของจีน จึงทำให้ขาดสภาพคล่องรุนแรง ไม่ได้เกิดจากภาพอุตสาหกรรมที่ไม่ดีทั้งระบบ
  • อสังหาริมทรัพย์เป็น Sector ที่ทางการจีนให้การดูแลเป็นพิเศษมาโดยตลอดและใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมภาพเศรษฐกิจโดยรวม ในช่วงที่เศรษฐกิจดีจะเข้ามาควบคุม แต่ถ้าเศรษฐกิจไม่ดีจะออกมาตรการกระตุ้น เพราะฉะนั้นจึงมีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดผลกระทบเชิงลบไปทั้งอุตสาหกรรม

ผลกระทบของ Evergrande ต่อภาพเศรษฐกิจโดยรวมมีจำกัด
  • กรณีที่ Evergrande ผิดนัดชำระหนี้จะส่งผลกระทบต่อเจ้าหนี้ ทั้งธนาคาร ผู้ถือหุ้นกู้ และ Supplier ในวงกว้าง รวมทั้งอาจทำให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายอื่นๆ กู้เงินได้ยากขึ้นด้วย
  • Evergrande มีหนี้สินทั้งหมด 3 แสนล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2021 ซึ่งเป็นหนี้ของ Suppliers 1.5 แสนล้านดอลลาร์ หนี้จากยอด Pre-sale 3 หมื่นล้านดอลลาร์ เจ้าหนี้ธนาคาร และหุ้นกู้ 9 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยคาดว่ารัฐบาลจีนจะเข้ามาช่วยเหลือบางส่วนเพื่อให้มีผู้ได้รับผลกระทบต่างๆ น้อยที่สุด
  • ทางการจีนพยายามจัดการปัญหาหนี้มาโดยตลอด ในอดีตที่ผ่านมามีการปล่อยให้บริษัทล้มละลาย แต่ก็อยู่ภายใต้การประเมินว่าจะต้องไม่ส่งผลกระทบในวงกว้าง ขณะที่ภาคธนาคารกลางจีนมีความแข็งแกร่ง มีอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งหมดต่อสินทรัพย์เสี่ยง (CAR Ratio) สูงที่ 14.5% ณ สิ้นปี 2020 และตราสารอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้ - CDS (Credit default swap) 5 ปี ของธนาคารจีน ไม่ได้เคลื่อนไหวไปกับความกังวลเกี่ยวกับข่าวดังกล่าว 

การลงทุนใน Evergrande ของกองทุนบลจ.กรุงศรี 
  • กองทุนของบลจ.กรุงศรี มีสัดส่วนการลงทุนใน Evergrande ดังนี้
    • กองทุนตราสารหนี้: KFAHYBON-A  มีสัดส่วน 1.70%
    • กองทุนผสม: KFMINCOM มีสัดส่วน 0.32%
    • กองทุนหุ้น: KFCMEGA-A มีสัดส่วน 0.26%
    • กองทุนหุ้น: KF-CHINA มีสัดส่วนเพียง 0.07%
  • ผู้จัดการกองทุนคาดว่าผลกระทบจากนี้มีไม่มากนัก เพราะปัจจุบันราคาหุ้นกู้ซื้อขายที่ 20-30 % ของราคาพาร์ (Par) เท่านั้น เป็นระดับราคาที่สะท้อนถึงการ Default ไปแล้ว มีโอกาสที่อัตราการเรียกคืนหนี้ (Recovery Rate) อาจมากกว่าระดับปัจจุบันได้
  • ในขณะที่กองทุนหุ้นมีน้ำหนักการลงทุนไม่มากนัก พร้อมทั้งราคาหุ้นลงมากว่า 80% นับตั้งแต่ต้นปีแล้ว

กลยุทธ์การลงทุนในจีน
  • ตลาดหุ้น: ยังคงลงทุนได้ เพราะมองว่าไม่ได้กระทบในวงกว้าง แต่ตลาดหุ้นที่เพิ่งบอบช้ำจาก Regulatory Risk (ความเสี่ยงจากมาตรการ) เมื่อเผชิญกับข่าวนี้อาจถูกกดดันไปสักระยะ และไม่ได้ฟื้นตัวเร็วในระยะเวลาอันใกล้ แต่มี Upside ที่มากในระยะเวลากลางถึงยาว จากการเติบโตของ New China ที่ยังดีอยู่ ดังนั้น สามารถหาจังหวะเข้าซื้อเมื่อตลาดปรับตัวลงได้
  • ตราสารหนี้ High Yield ของเอเชีย: การลงทุนในตราสารหนี้ HY ที่ให้ผลตอบแทนที่มากที่สุด คือในช่วงที่ Spread กว้างจากตลาดที่ Panic รุนแรง ณ ปัจจุบัน China Property HY มี Credit Spread ถึง 16% จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้สูง
  • ทั้งนี้ ทิศทางระยะสั้นอาจถูกกดดันจากข่าวที่รุนแรงมาก แต่ตลาด HY ในจีนเองได้รับรู้ข่าว Evergrande มาโดยตลอด อีกทั้งหลังประกาศงบไตรมาส 2/2021 China Property HY มี Balance Sheet ที่ดีขึ้น จึงไม่ได้ไม่ดีทั้งระบบ จะเป็นเพียงบางตัวเท่านั้น ผู้ลงทุนที่รับความผันผวนระยะสั้นได้สูงให้ถือต่อไปเพื่อรับดอกเบี้ยของพอร์ตที่สูง 11.85% (ณ 31 ก.ค. 2021) แต่หากผู้ลงทุนรับความผันผวนที่อาจจะสูงมากในระยะสั้นไม่ได้ แนะนำให้ลดการถือครองลง  


นโยบายการลงทุนและคำเตือน

  • KFAHYBON-A ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ BGF Asian High Yield Bond Fund, Class D2 USD (กองทุนหลัก) ) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ≥ 80% ของ NAV ระดับความเสี่ยง 6 - เสี่ยงสูง | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน (โดยปกติกองทุนจะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย ≥ 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ) | กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในตราสารที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตและสภาพคล่อง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก l กองทุนนี้เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน
  • KFMINCOM-A และ KFMINCOM-R ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ Fidelity Funds - Global Multi Asset Income Fund (Class A-MINC(G)) (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ≥ 80% ของ NAV ระดับความเสี่ยง 5 - เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน (โดยปกติกองทุนจะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย ≥ 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ)
  • KFCMEGA-A ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ และ/หรือกองทุนรวม ETF ต่างประเทศที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในประเทศจีน และ/หรือมีธุรกิจหลักหรือมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการประกอบธุรกิจในประเทศจีน ทั้งนี้ กองทุนจะลงทุนอย่างน้อย 2 กองทุน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >80% ของ NAV ทั้งนี้ สัดส่วนการลงทุนในหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสภาวะการลงทุนหรือการคาดการณ์สภาวะการลงทุนในแต่ละขณะ ระดับความเสี่ยง 6 - เสี่ยงสูง | ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ (โดยปกติกองทุนจะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย ≥ 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ) | กองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
  • KF-CHINA ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ Hang Seng China Enterprises Index ETF(กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ≥ 80% ของ NAV ระดับความเสี่ยง 6 - เสี่ยงสูง | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ (โดยปกติกองทุนจะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย ≥ 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ) | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในประเทศจีน l กองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
  • เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และ ความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ข้อมูลกองทุน: KFAHYBON-A | KFMINCOM-A | KFMINCOM-R | KFCMEGA-A | KF-CHINA

หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอดูหนังสือชี้ชวน โปรดติดต่อ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรีจำกัด โทร 0 2657 5757 หรืออีเมล krungsriasset.clientservice@krungsri.com
เอกสารประกอบเปิดด้วยโปรแกรม Acrobat Reader หากท่านไม่มีโปรแกรมดังกล่าว คลิกเพื่อ ดาวน์โหลด โปรแกรม (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ย้อนกลับ

ลงทุนในกองทุนรวมบลจ.กรุงศรี

บลจ.กรุงศรีมีกองทุนรวมหลายประเภทให้เลือกลงทุนสำหรับทุกเป้าหมายการลงทุน