เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คืออะไร

กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ เพื่อให้ลูกจ้างที่มีหลักประกันทางการเงิน และเป็นสวัสดิการเมื่อลูกจ้างลาออกจากงาน เกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐผ่านกฎหมายที่ออกขึ้นมาเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ต่างๆที่ลูกจ้างควรจะได้รับ เรียกว่า "พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ"

ความสำคัญของพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นอกจากจะเป็นการเสริมสร้างสวัสดิภาพทางการเงินให้แก่บุคลากรในองค์กรแล้ว ยังเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างความมั่นคงแก่ระบบเงินออมและสร้างรากฐานที่มั่นคงต่อเสถียรภาพทางการเงินของประเทศอีกด้วย

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งจะถือว่าแยกจากนิติบุคคลของนายจ้างและบริษัทจัดการ มีการควบคุมดูแลการดำเนินงานโดยคณะกรรมการกองทุนที่มาจากการแต่งตั้งและเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังมีนายทะเบียนซึ่งแต่งตั้งขึ้นโดยกฎหมาย คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(สำนักงาน ก.ล.ต.)ช่วยกำกับดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทจัดการกองทุนให้แก่กองทุนต่างๆ อีกด้วย

องค์ประกอบของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกอบด้วย
  1. เงินที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุน เรียกว่า “เงินสะสม” ซึ่งลูกจ้างยินยอมให้นายจ้างหักจากค่าจ้างทุกเดือนในอัตราตั้งแต่ ร้อยละ 2 จนถึงสูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ในข้อบังคับกองทุนแต่ละนายจ้าง
  2. เงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุน เรียกว่า “เงินสมทบ” โดยนายจ้างช่วยสมทบเข้ากองทุนทุกเดือนไม่น้อยกว่าเงินสะสมที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุนและสูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง ซึ่งอัตราการจ่ายเงินสมทบให้แก่ลูกจ้างอาจแตกต่างกันตามเงื่อนไข ระยะเวลาการทำงานหรือระยะเวลาการเป็นสมาชิกเป็นต้น โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ในข้อบังคับกองทุนแต่ละนายจ้าง
  3. ผลประโยชน์ที่เกิดจากการนำเงินสะสมไปลงทุน เรียกว่า “ผลประโยชน์ของเงินสะสม”
  4. ผลประโยชน์ที่เกิดจากการนำเงินสมทบไปลงทุน เรียกว่า “ผลประโยชน์ของเงินสมทบ”
ประเภทกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แบ่งเป็นรูปแบบดังนี้
1. กองทุนที่มีนโยบายเดียว
1.1 กองทุนเดี่ยว (Single Fund) หมายถึง กองทุนที่ประกอบด้วยนายจ้างรายเดียว และ
เป็นกองทุนที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ คณะกรรมการกองทุนสามารถกำหนดนโยบายร่วมกับบริษัทจัดการเองได้
1.2 กองทุนร่วม (Pooled Fund) หมายถึง กองทุนที่ประกอบด้วยนายจ้างตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปภายใต้นโยบายการลงทุนเดียวกัน เหมาะสำหรับบริษัทที่มีเงินกองทุนไม่มาก หรือบริษัทที่จะเริ่มจัดตั้งกองทุนเป็นครั้งแรก หรือ บริษัทที่มีพนักงานจำนวนไม่มากมีประโยชน์ในด้านการลดภาระค่าใช้จ่ายและเพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุนให้ได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นได้
2.กองทุนที่มีหลายนโยบาย
2.1 กองทุนเดี่ยว (Master Single Fund) หมายถึง กองทุนที่ประกอบด้วยนายจ้างรายเดียว และเป็นกองทุนที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ โดยคณะกรรมการกองทุนสามารถกำหนดนโยบายการลงทุนได้หลายนโยบาย
2.2 กองทุนร่วม (Master Pooled Fund) หมายถึง กองทุนที่ประกอบด้วยนายจ้างตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป โดย 1 กองทุนสามารถกำหนดนโยบายการลงทุนได้หลายนโยบาย เหมาะสำหรับบริษัทที่ยังไม่เคยจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือบริษัทที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งต้องการนโยบายการลงทุนที่มีความยืดหยุ่นพร้อมกันนี้ ยังรองรับการจัดทำ Employee’s Choice เมื่อสมาชิกมีความพร้อมในการลงทุนด้วยตัวเอง
การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
นายจ้างและลูกจ้างที่มีความสนใจที่จะจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้
 
บุคคลที่เกี่ยวข้อง
ภายหลังการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การดำเนินการของกองทุนจะมีบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
ค่าใช้จ่าย
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
  • สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับนายจ้าง
    เงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุน นายจ้างสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงในแต่ละรอบบัญชี
  • สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับลูกจ้าง
    พนักงานจะได้รับประโยชน์ทางภาษีตลอดเวลาในการเป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนี้

เงินที่จ่ายออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะถูกนำไปคำนวณภาษี โดยแยกเป็น 3 กรณี ดังนี้

หมายเหตุ : การใช้อายุงานเพื่อคำนวณภาษีจะต้องเป็นกรณีที่สมาชิกลาออกจากงานเท่านั้น ในกรณีที่สมาชิกลาออกจากกองทุนโดยไม่ได้ลาออกจากงาน สมาชิกไม่สามารถใช้อายุงานมาคำนวณตามวิธีข้างต้นได้ สมาชิกจะต้องนำเงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมารวมคำนวณกับเงินได้ทั้งปีเพื่อเสียภาษี


Em@ccess on Mobile Application for PVD Members

ให้คุณจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพง่ายๆ  ด้วยตัวเองผ่าน @ccess Mobile Application